รวมเกณฑ์อาคารยั่งยืน ที่ประเมินความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของอาคาร จากทั่วโลก

ถ้านึกถึงเกณฑ์ประเมินอาคารยั่งยืนจะนึกถึงเกณฑ์อะไรบ้าง? คำตอบแรก ๆ ก็คงจะเป็นเกณฑ์ LEEDs ของ USGBC หรือเกณฑ์ TREEs ของสถาบันอาคารเขียวไทยอย่างแน่นอน ซึ่งการก่อสร้างอาคารให้สอดคล้องกับเกณฑ์ประเมินเหล่านี้จะเป็นการรับรองให้ทุกคนทั้งในประเทศและต่างประเทศรู้ว่า อาคารหลังนี้มีคุณสมบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับและได้มาตรฐาน ทำให้เกิดผลดีในหลาย ๆ ด้านตามมา หนึ่งก็คือในด้านเศรษฐกิจ อาคารจะเป็นที่ต้องการของบริษัทและนักลงทุนที่มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สองคือด้านสิ่งแวดล้อม จากการที่อาคารส่งผลกระทบเชิงลบต่อธรรมชาติและสังคมน้อยลง อาคาร ผู้คนและสิ่งแวดล้อมจึงมีคุณภาพที่ดีขึ้น

แต่นอกเหนือจาก 2 เกณฑ์นี้ ในระดับสากลหรือในประเทศอื่น ๆ ยังมีเกณฑ์ที่น่าสนใจอยู่หลาย ๆ เกณฑ์ เช่น CASBEE ของประเทศญี่ปุ่น SGBC ของประเทศสิงคโปร์ New Zealand’s Green Star ของประเทศนิวซีแลนด์ หรือเกณฑ์ประเมินของ International Living Future Institute ของสหรัฐอเมริกา 

ทั้งหมดนี้มีหมวดการประเมินที่ครอบคลุมตั้งแต่ก่อน ระหว่างและหลังการก่อสร้าง รวมถึงเรื่องความยั่งยืนตลอดอายุการใช้งานที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งถ้าเราสามารถก่อสร้างให้อาคารผ่านเกณฑ์อาคารยั่งยืนในเกณฑ์อื่น ๆ ได้นอกเหนือจาก LEEDs หรือ TREEs ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตหรือการลงทุนและยังสร้างมาตรฐานให้อาคารเป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้มากขึ้นด้วย

.

เกณฑ์อาคารยั่งยืนคืออะไร สำคัญแค่ไหนในยุคนี้

เกณฑ์อาคารยั่งยืนหรือที่เรามักจะคุ้นเคยกันในชื่อเกณฑ์อาคารเขียว เป็นการประเมินที่ตั้งขึ้นมาเพื่อวัดคุณภาพด้านพลังงานและผล  กระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอาคาร เพื่อประเมินและรับรองว่าอาคารในโครงการนั้น ๆ ส่งผลบวกหรือลบต่อสิ่งแวดล้อมของโลกมากน้อยแค่ไหนอย่างไรบ้าง ซึ่งพิจารณาตั้งแต่การออกแบบ การก่อสร้าง การเลือกใช้วัสดุ การใช้พลังงานหมุนเวียน เป็นต้น

ที่ต้องมีเกณฑ์ประเมินอาคารยั่งยืนขึ้นมา เป็นเพราะการก่อสร้างถือเป็นหนึ่งวงการที่รบกวนธรรมชาติมากเป็นอันดับแรก ๆ ทั้งในด้านการนำทรัพยากรธรรมชาติมาผลิตเป็นวัสดุก่อสร้างและการขยายพื้นที่เพื่อสร้างอาคาร ดังนั้นในยุคที่การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ การควบคุมและปรับเปลี่ยนให้การก่อสร้างเป็นมิตรและคิดถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้นจึงเป็นแนวทางที่ช่วยให้อาคารอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น รวมถึงมอบคุณภาพชีวิตที่ดีคืนสู่สังคมด้วย

.

เกณฑ์อาคารยั่งยืนจากทั่วโลก และหมวดวัสดุรักษ์โลกที่เหมือนกัน

เกณฑ์อาคารยั่งยืนที่เราคุ้นเคยกันดีจะมีอยู่ 2 เกณฑ์คือ เกณฑ์ LEEDs ของ U.S Green Building Council  และเกณฑ์ TREEs ของสถาบันอาคารเขียวของไทย ซึ่งเกณฑ์ TREEs ก็มีรูปแบบการประเมินและหัวข้อที่คล้ายคลึงกับ LEEDs เช่น เรื่องวัสดุและทรัพยากรการก่อสร้างที่พูดถึงการใช้วัสดุในประเทศที่มีขั้นตอนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือเป็นวัสดุรีไซเคิล ตลอดจนการบริหารจัดการน้ำ ระบบประหยัดพลังงานอื่น ๆ และคุณภาพสภาพแวดล้อมในอาคาร ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นการประเมินตั้งแต่การออกแบบ ระหว่างขั้นตอนก่อนสร้าง การจัดการหลังการก่อสร้างไปจนถึงการเข้าใช้งาน โดยจะแบ่งระดับการประเมินตามเกณฑ์คะแนนที่วางเอาไว้ เช่น ระดับ Gold, Silver และ Platinum ยิ่งระดับสูงก็ยิ่งยืนยันว่าอาคารมีประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนที่ดี

ซึ่งนอกเหนือจากเกณฑ์ LEEDs และ TREEs ยังมีเกณฑ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจและมีบทบาทไม่แพ้กัน อย่างเช่น เกณฑ์ New Zealand’s Green Star ของประเทศนิวซีแลนด์ที่ไม่ใช่แค่ประเมินเรื่องวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรหรือการจัดการน้ำ แต่ยังให้น้ำหนักในเรื่องการขนส่งและสร้างสภาพแวดล้อมในการใช้งานที่เหมาะสมด้วย หรือเกณฑ์ SGBC ของสิงค์โปรที่ใส่ใจเรื่องนวัตกรรมวัสดุรักษ์โลก คาร์บอนฟุตปริ้นท์รวมถึงการใช้งานวัสดุที่มีการผลิตมาจากเศษรีไซเคิลด้วย 

นอกจากนี้ก็ยังมีเกณฑ์ที่เราไม่ค่อยคุ้นหูอย่างเช่น เกณฑ์ BREEAM ของสหราชอาณาจักร เกณฑ์ LBC (Living Building Challenge) ของ International Living Future Institute (ILFI) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีการประเมินอาคารอย่างเข้มข้นใน 7 ด้าน หรือเกณฑ์  CASBEE ของประเทศญี่ปุ่นที่ประเมินทั้งคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียในด้านสิ่งแวดล้อมของอาคาร

.

เหล็กโครงสร้าง SYS ให้การก่อสร้างยั่งยืนได้ตลอดอายุการใช้งาน

เราจะเห็นได้ว่าในทุกเกณฑ์อาจมีน้ำหนักมากน้อยหรือรายละเอียดที่เพิ่มเติมเข้ามาไม่เหมือนกัน แต่เมื่อมาดูภาพรวมหมวดการประเมินทั้งหมดนั้นคล้ายคลึงกันมาก ทั้งในเรื่องขั้นตอนการก่อสร้าง การจัดการน้ำ สภาพแวดล้อมการใช้งานและที่สำคัญคือเรื่องวัสดุและทรัพยากรการก่อสร้าง

ที่วัสดุเป็นเรื่องสำคัญเป็นเพราะว่าเป็นส่วนของโครงสร้าง พื้น ผนัง หลังคาของอาคาร ทั้งยังมีความเกี่ยวข้องกับการผลิต พลังงานที่ใช้ผลิต การขนส่ง วัฏจักรชีวิตตลอดการใช้งานและการรื้อถอนหลังใช้งาน เราจึงต้องเลือกวัสดุก่อสร้างอย่างรอบคอบเพื่อให้อาคารตรงตามเกณฑ์เหล่านั้นได้มากที่สุด

ซึ่งเหล็กโครงสร้างจาก SYS ก็เป็นหนึ่งในวัสดุที่เหมาะสมกับการก่อสร้างในยุคสมัยนี้และสอดคล้องกับเกณฑ์อาคารยั่งยืนในไทยและในต่างประเทศ เพราะเหล็ก SYS มีแหล่งผลิตในประเทศ ผลิตมาจากเศษเหล็กรีไซเคิลนำมาผ่านการหลอม และผลิตที่ประหยัดพลังงาน และเมื่อเลิกใช้อาคารก็สามารถรีไซเคิลกลับมาใช้ซ้ำได้ตลอด อีกทั้งยังมีการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมรอบด้าน เช่น CFO, CFP หรือ EPD ทั้งยังเคยเป็นส่วนหนึ่งในการก่อสร้างอาคารรักษ์โลกในต่างประเทศด้วย เหล็ก SYS จึงไม่ใช่แค่วัสดุก่อสร้างที่สามารถพาอาคารผ่านเกณฑ์ประเมินในประเทศได้เท่านั้น แต่ยังมีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์เกณฑ์ประเมินในระดับสากลอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดีด้วย เพราะเป็นวัสดุที่รักษ์โลกตลอดอายุการใช้งาน จึงช่วยส่งเสริมให้อาคารรักษ์โลกได้ตลอดอายุการใช้งานเช่นเดียวกัน