ไขข้อข้องใจ! วิศวกรกับสถาปนิก ต่างกันอย่างไร

นอกจากชื่อที่ต่างกันแล้วบอกเลยว่าในส่วนของหน้าที่การทำงานระหว่างวิศวกรกับสถาปนิกก็แตกต่างกันเช่นกัน ซึ่งในส่วนของงานวิศวกรรรมที่สถาปนิกต้องเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องมีหลายส่วน เช่น วิศวกรโครงสร้าง วิศวกรงานระบบต่างๆ ดังนั้นการก่อสร้างอาคารหลังหนึ่งจำเป็นต้องมีทั้งวิศวกรและสถาปนิกเพราะขอบเขตของงานที่รับผิดชอบนั้นมีหลายประเด็นต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันและที่สำคัญคือทำแทนกันไม่ได้!

บ้านเหล็กร้อนไหม?

คุณสมบัติของเหล็กที่เรามีความกังวลเมื่อนำมาใช้เป็นโครงสร้างบ้านมักหนีไม่พ้นเรื่องของ ‘การสะสมความร้อนที่รวดเร็ว’ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้บ้านร้อนขึ้น แต่ในทางกลับกันถึงแม้ว่าเหล็กจะสะสมความร้อนได้รวดเร็วแต่ก็คายความร้อนได้รวดเร็วเช่นกัน ซึ่งหลักการดังกล่าวจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเหล็กได้รับความร้อนโดยตรง

10 ไอเดียต่อเติมบ้าน ด้วยโครงสร้างเหล็ก – #7 ศาลาต้นไม้

การออกแบบและก่อสร้างพื้นที่พักผ่อนรอบบ้าน เป็นสิ่งที่ช่วยให้การอยู่อาศัยมีความสุขและผ่อนคลายมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือการสร้างพื้นที่พักผ่อนในสวน เช่นการทำศาลาใต้ต้นไม้ใหญ่สำหรับนั่งเล่น ก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจไม่น้อย โดยโครงสร้างที่เรานำมาเสนอนี้คือโครงสร้างเหล็กรูปพรรณรีดร้อน ที่ก่อสร้างง่าย รวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อต้นไม้และตัวบ้านน้อย แถมยังดูทันสมัยอีกด้วย

10 ไอเดียต่อเติมบ้าน ด้วยโครงสร้างเหล็ก – #6 ระแนงกันร้อน

เป็นที่ทราบกันดีว่าแดดเมืองไทยนั้นร้อนแรงขนาดไหน การต่อเติมหนึ่งที่เป็นที่นิยมก็คือการต่อเติมระแนงกันร้อน หรือ กันแดด ให้กับตัวบ้าน เหมือนเป็นการเพิ่มร่มเงาและช่วยลดอุณหภูมิให้ตัวบ้านบ้านได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการตกแต่งหน้าตาของบ้าน ให้ดูมีลูกเล่นน่าสนใจมากขึ้นอีกด้วย ส่วนรายละเอียดและไอเดียจะเป็นอย่างไรนั้น ลองไปชมกันเลยครับ

การดูแลบ้านเหล็กต่างจากบ้านคอนกรีตอย่างไร

‘เหล็ก’ ถือเป็นโลหะที่ถูกนำมาใช้สร้างบ้านมากที่สุด ซึ่งเมื่อพูดถึงเหล็กก็ย่อมนึกถึงสนิม (rusting) เป็นของคู่กัน สนิมเหล็กเกิดจากสารประกอบระหว่างเหล็กกับออกซิเจน มีชื่อทางเคมีคือ ไฮเดรตเฟอริกออกไซด์ ลักษณะเป็นคราบสีแดง ซึ่งหลายคนมักมีความกังวลในเรื่องนี้ แต่ในความจริงแล้วเจ้าของบ้านเองก็สามารถรับมือการเกิดสนิมด้วยตัวเองได้ง่ายๆ

5 สิ่งที่ควรนึกถึงก่อนการใช้งานเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (งานโครงสร้าง)

ในการก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสักหลัง อาจมีบางส่วนในการก่อสร้างที่สามารถยอมรับได้หากเกิดความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย แต่มีบางอย่างที่ไม่อยากให้ละเลย เพราะนั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ความแข็งแรงของอาคารลดลงได้ ลองไปชมกันว่ามีอะไรบ้าง

รอยต่อเหล็กในงานสถาปัตยกรรม 1 ตอนที่ 5

สำหรับตอนนี้ เป็นส่วนของรอยต่องานเหล็กในส่วนหลังคา ที่มีความต่อเนื่องจากโครงสร้างเสา สู่โครงสร้างหลังคาเช่น จันทัน หรืออะเส รวมถึงหลังคาโครง Truss (หลังคาโครงถัก) ทั้งหมดต้องมีรายละเอียดการติดตั้งที่ถูกต้องเหมาะสม จะมีลักษณะที่เป็นมาตรฐานอย่างไรบ้าง ลองไปชมกันได้เลยครับ

รอยต่อเหล็กในงานสถาปัตยกรรม 1 ตอนที่ 4

ในกรณีที่เกิดความจำเป็นต้องต่อเสาเหล็ก รอยต่อระหว่างเหล็กทั้ง 2 ท่อน ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะรอยต่อเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการรับน้ำหนักของเหล็กโครงสร้าง ซึ่งจะแตกต่างการรอยต่อของคานอย่างไร ลองไปชมกันครับ

9 ทริคควรรู้สร้างบ้านในพื้นที่แคบ

ด้วยความเจริญที่ขยายไปอย่างไม่สิ้นสุดส่งผลโดยตรงให้ราคาที่ดินในบ้านเราราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายครอบครัวมีที่ดินขนาดเล็กแต่ยังลังเลที่จะสร้างบ้าน เพราะข้อจำกัดของที่ดิน แต่หากจริงๆ แล้วที่ดินทุกผืนจะมีศักยภาพในแบบเฉพาะตัวซ่อนอยู่ พบกับ 9 ทริคควรรู้สร้างบ้านในพื้นที่แคบ ที่จะให้คุณมองเห็นความเป็นไปได้ในข้อจำกัดบนพื้นที่จำกัดได้ชัดเจนมากขึ้น

Steel Connection 1 : รอยต่อเหล็กในงานสถาปัตยกรรม 1 ตอนที่ 3

ในการก่อสร้างอาคารเหล็ก สิ่งที่สำคัญอันดับต้นๆ คือเรื่องของรอยต่องานเหล็ก เพราะจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าอาคารเหล่านั้น มีความแข็งแรงมั่นคงมากน้อยเพียงใด ครั้งนี้เรามาลองดูรอยต่อที่เป็นแบบมาตรฐาน ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงกันครับ โดยแบบเหล่านี่เป็นเพียงตัวอย่างในการคิดและออกแบบเท่านั้น สามารถดัดแปลง เพิ่มเติม ตามแต่ความเหมาะสมของงานแต่ละประเภทครับ