การก่อสร้างอาคารขึ้นมาอาจมีสักวันที่อาคารหลังนั้นต้องถูกรื้อถอนออกไป ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะมองเห็นและใช้เวลาจัดการกับเพียงขั้นตอนการก่อสร้างจนลืมนึกถึงการจัดการหลังการก่อสร้างไป ส่งผลให้วัสดุที่เลือกมาใช้กลายเป็นเศษเหลือทิ้งหรือขยะล้นอยู่ในระบบที่รอการกำจัด
.
หากมองดูอาคารหนี่งหลังที่วันหนึ่งจะต้องถูกรื้อถอนไป จะเห็นได้ว่าอาคารประกอบด้วยวัสดุหลายชนิดมาก แต่ไม่ใช่วัสดุทุกชนิดที่จะสามารถนำกลับมารีไซเคิลหรือหมุนเวียนกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อีกครั้ง
.
วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ หมุนเวียนสู่กระบวนการผลิตได้อีกครั้ง หรือนำไปประยุกต์เป็นสิ่งใหม่ ๆ ได้ เช่น กระจก ไม้ธรรมชาติ รวมไปถึงเหล็ก H-BEAM ที่เป็นโครงสร้างของอาคาร ในขณะเดียวกันคอนกรีตหรือวัสดุตกแต่งอื่น ๆ เช่น ไฟเบอร์ซีเมนต์ แผ่นไวนิล ฯลฯ กลับมีการกำจัดและจัดการหลังการรื้อถอนอาคารได้ยากกว่า และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นขยะในระบบอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง
.
หากต้องการตรวจสอบว่าวัสดุไหนใช้แล้วรักษ์โลก ทั้งยังสร้างขยะให้โลกน้อย สามารถเช็กค่า MCI ได้ โดยวัสดุที่มีค่า MCI เข้าใกล้ 1 จะยิ่งเป็นวัสดุที่รักษ์โลก เช่น เหล็กรูปพรรณรีดร้อนที่มีค่า MCI = 0.9 ในขณะที่คอนกรีตมีค่า MCI = 0.11
.
แสดงให้เห็นว่าการเลือกใช้เหล็ก H-BEAM ซึ่งเป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อนมาเป็นโครงสร้างหลักของอาคารช่วยลดปริมาณขยะได้มากขึ้นนั่นเอง และยิ่งเราเลือกใช้วัสดุที่มีค่า MCI สูง ก็จะยิ่งทำให้อาคารนั้น ๆ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ตลอดอายุการใช้งาน ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
.
ค่า MCI คืออะไร สำคัญยังไงกับการก่อสร้างอาคารรักษ์โลก อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่: https://www.hbeamconnect.com/blog/materials-that-reduce-waste-generation-through-mci-values/