ส่อง 5 รูปแบบงานสถาปัตยกรรมน่าสนใจจากเหล็ก SYS วัสดุที่ตอบโจทย์ได้ครบทุกความต้องการ

อย่างที่เราทราบกันดีว่าเหล็กโครงสร้างเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติแข็งแรงรับแรงได้ดี ก่อสร้างง่าย รวดเร็ว ใช้งานได้ยืดหยุ่นและยังมีอายุการใช้งานที่นาน ทำให้เหมาะกับการนำไปเป็นโครงสร้างของอาคารในทุกรูปแบบตั้งแต่บ้านพักอาศัย อาคารสำนักงานไปจนถึงอาคารขนาดใหญ่อย่างโรงงานหรือ Exhibition Hall แต่นอกเหนือจากที่เหล็กโครงสร้างเหมาะกับอาคารในขนาดต่าง ๆ ตามที่เราคุ้นเคยกันดีแล้ว เรายังสามารถนำเหล็กโครงสร้างมาใช้งานในรูปแบบและมุมมองด้านสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น สถาปัตยกรรมที่มีดีไซน์เว้าโค้ง สถาปัตยกรรมที่มีดีไซน์ยื่นยาวหรือสถาปัตยกรรมที่มีความซับซ้อนมาก ๆ เหล็กโครงสร้างก็สามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี

เช่นเดียวกับเหล็กโครงสร้างจาก SYS ที่มีคุณสมบัติด้านความแข็งแรงที่ดี เหล็กเป็นเนื้อเดียวกันทั้งท่อน ทั้งยังมีเกรดเหล็กให้เลือกใช้งานถึง 2 เกรด นอกจากนี้ยังมีบริการเสริมจากที่ครอบคลุมช่วยให้การนำเหล็กโครงสร้างไปใช้สามารถทำได้สะดวก รวดเร็ว คุ้มค่าและที่สำคัญคือได้งานสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับโจทย์ที่วางเอาไว้ด้วย

 

สถาปัตยกรรมที่มีดีไซน์อิสระ ไร้กรอบ

ในการออกแบบสถาปัตยกรรมสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การดีไซน์ฟังก์ชันก็คือเรื่องของบรรยากาศและ ความรู้สึกในพื้นที่หรือ Sense of Place การที่จะทำให้อาคารมีบรรยากาศตามที่ต้องการ จะต้องออกแบบให้ฟอร์มอาคารมีความชัดเจนเพื่อให้สื่อสารอารมณ์หรือความรู้สึกออกมาได้เต็มที่ ยิ่งเป็นเส้นสายหรือฟอร์มที่อิสระ ก็จะยิ่งส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้งานได้มาก 

อย่างในโครงการคาเฟ่ Harudot by NANA Coffee Roasters นี้ก็ได้เลือกเหล็ก H-BEAM ไปดัดให้เป็นเส้นโค้งก่อนนำมาติดตั้งเป็นโครงสร้างเสาเอียง และคานดัดโค้งเป็นโครงสร้างหลังคาของอาคาร จนเกิดเป็นอาคารทรงสามเหลี่ยมพลิ้วโค้งที่มอบความรู้สึกและประสบการณ์เชิงพื้นที่ให้กับผู้ใช้งานได้

 

สถาปัตยกรรมที่มีดีไซน์ยื่นยาว

อีกหนึ่งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ในปัจจุบันนี้นิยมออกแบบกันก็คือ การเป็นอาคารที่มีโครงสร้างยื่นยาวออกมาโดยไม่มีโครงสร้างเสามารับน้ำหนักด้านล่างให้เห็น การดีไซน์รูปแบบนี้จะทำให้อาคารดูโปร่ง เบาบางและดูทันสมัยสะดุดตาได้มากขึ้น ซึ่งโรงละคร Singha D’Luck Cinema Theatre ก็เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้ โดยมีการเลือกใช้เหล็ก H-BEAM SM520 ของ SYS ไปเป็นโครงสร้างยื่นยาวของอาคาร ด้วยคุณสมบัติในการรับแรงที่ดีขึ้นของ SM520 ทำให้โรงละครนี้สามารถยื่นโครงสร้างออกมาได้มากและดูโปร่งเบาในเวลาเดียวกัน

(เครดิตภาพ : Chaovarith Poonphol)

 

สถาปัตยกรรมที่จัดการกับงานระบบได้ดีขึ้น

แม้งานระบบจะเป็นสิ่งที่ทำให้งานสถาปัตยกรรมสวยน้อยลงหรือไม่สมบูรณ์แบบตามภาพดีไซน์ที่วางไว้ แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมากต่อการใช้งานอาคาร ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการออกแบบและการเลือกใช้วัสดุที่สามารถปกปิดหรือพรางงานระบบได้ก็จะช่วยให้อาคารมีความสวยงามมากขึ้น นอกจากวัสดุจำพวกท่องานระบบและรางสำหรับวางงานระบบแล้ว เรายังสามารถออกแบบให้โครงสร้างอาคารจัดการงานระบบได้ด้วย เช่น การใช้เหล็ก H-BEAM ไปทำเป็น Cellular Beam 

ในอาคาร EEC Academy Building 2 นี้ก็เป็นหนึ่งอาคารที่เลือกเหล็ก H-BEAM เกรด SM520 จาก SYS ไปแปรรูปเป็น Cellular Beam และนำมาเป็นโครงสร้างอาคาร ทำให้ภายในมีเพดานที่สูงขึ้น ดูโปร่งโล่งชวนให้อยากเข้ามาใช้งาน และยังสามารถร้อยงานระบบต่าง ๆ ทะลุผ่านช่องว่างของ Cellular Beam ได้เลย ไม่ต้องลอดใต้คานเหมือนโครงสร้างทั่วไป สถาปัตยกรรมจึงเรียบร้อยได้มากขึ้น 

 

สถาปัตยกรรมอาคารเขียว

สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อดีของการเลือกใช้เหล็กในการก่อสร้างอาคารก็คือ เหล็กเป็นวัสดุรักษ์โลกที่สามารถใช้งานได้ตลอดอายุการใช้งาน ทั้งยังสามารถนำหลับมารีไซเคิลเพื่อหลอมเป็นเหล็กท่อนใหม่ได้ด้วย โดยเฉพาะกับเหล็กโครงสร้างของ SYS ที่ผลิตมาจากเศษเหล็กรีไซเคิลกว่า 95% ผ่านเตาหลอม EAF ที่เกิดมลพิษจากการผลิตน้อยกว่าเตาแบบปกติ และยังมีการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมครบครัน ซึ่งนอกจากจะเป็นวัสดุที่เข้าเกณฑ์ประเมินอาคารเขียวหมวดวัสดุและทรัพยากรก่อสร้างแล้ว ยังช่วยส่งเสริมให้อาคารเข้าเกณฑ์อาคารเขียวได้มากขึ้นด้วย

เช่นเดียวกับอาคารสภาวิศวกรแห่งใหม่ที่เป็นอาคารที่ได้รับการรับรองอาคารเขียวระดับ Platinum จากสถาบันอาคารเขียวไทย หนึ่งในวัสดุที่เลือกไปเป็นโครงสร้างอาคารก็คือเหล็ก H – BEAM ของทาง SYS ซึ่งนอกจากจะช่วยผลักดันให้เป็นอาคารสีเขียวได้แล้ว ยังตอบโจทย์การเป็นโครงสร้างรูปแบบเฉพาะในบางจุดของอาคารได้ด้วย

 

สถาปัตยกรรมขนาดใหญ่พิเศษ

ในการออกแบบอาคารขนาดใหญ่ เราจะต้องวางแผนและออกแบบให้ทุกส่วนสอดคล้องกัน เพื่อให้การก่อสร้างดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ซึ่งการเลือกใช้โครงสร้างเหล็กที่เป็นวัสดุสำเร็จที่ผลิตมาจากโรงงานก็ช่วยให้การก่อสร้างที่หน้างานทำได้สะดวกแม่นยำและส่งต่อไปที่งานส่วนต่อไปได้เร็วขึ้น 

ยกตัวอย่าง ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์นี้เป็นอาคารขนาดใหญ่ที่มีช่วงกว้างกว่า 110 ม. มีการปรับปรุงครั้งใหญ่โดยนำเหล็ก H-BEAM จาก SYS มาเป็นโครงสร้างหลังคาของอาคาร ลักษณะการก่อสร้างจะเป็นการทำส่วนของหลังคาก่อนเพื่อให้ส่วนอื่น ๆ ต่อจากนี้ทำต่อได้สะดวกไม่ต้องกังวลเรื่องสภาพอากาศ ซึ่งเหล็ก H-BEAM ก็ทำให้การขึ้นโครงหลังคาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว หรืออาคาร G-Tower ที่มีช่วงยื่นยาวกว่า 36 ม. ก็มีการนำเหล็ก H-BEAM ไปเป็นโครงสร้างในส่วนนี้เช่นเดียวกัน

เหล็ก H-BEAM จาก SYS จึงเป็นวัสดุที่สามารถตอบโจทย์งานสถาปัตยกรรมในรูปแบบและความต้องการต่าง ๆ ได้อย่างกลมกลืน ทั้งยังช่วยให้รูปลักษณ์อาคารเข้าใกล้ดีไซน์ที่วางไว้และช่วยให้การก่อสร้างราบรื่นได้มากขึ้น