5 อาคารสาธารณะที่โปร่ง โล่งและโดดเด่นด้วยโครงสร้างเหล็ก

ภาพจำของอาคารขนาดใหญ่หรืออาคารสาธารณะที่ต้องรองรับการใช้งานของคนจำนวนมากๆ คือ อาคารที่มีความโอ่อ่า มีขนาดโครงสร้างที่ใหญ่ หนักและดูอึดอัด แต่ภาพจำเหล่านั้นเปลี่ยนไปเมื่อ “โครงสร้างเหล็ก” เข้ามามีบทบาทสำคัญในการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ในปัจจุบันมากขึ้น ด้วยข้อดีและคุณสมบัติเฉพาะตัวของโครงสร้างเหล็กที่จะทำให้อาคารโปร่ง โล่งและโดดเด่นได้มากกว่าที่เคย

Light of Internet World Internet Conference Center ในประเทศจีน

เป็นอาคารสำหรับจัดแสดงที่ถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่โถงสำหรับจัดแสดงงาน 4 โถง ซึ่งสามารถเปิดเพื่อใช้งานเป็นโถงใหญ่ได้ ส่วนโครงสร้างของอาคารมีการใช้ Portal Frame ที่ทำจากเหล็กและโครงสร้างเคเบิล เพื่อตอบรับกับดีไซน์หลังคากระเบื้องที่ประยุกต์มาจากอาคารพื้นถิ่นของพื้นที่ ช่วยให้อาคารดูมีลูกเล่นและนุ่มนวลมากขึ้น แม้จะเป็นอาคารที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ทั้งช่วงพาดยาวและมีความสูงมาก แต่การเลือกใช้โครงสร้างเหล็กนั้นช่วยประหยัดเวลาก่อสร้างไปได้มาก ทำให้ได้อาคารพร้อมใช้งานเร็วยิ่งขึ้น

อ้างอิงรูปภาพและข้อมูลจาก : https://www.archdaily.com/926848/light-of-internet-world-internet-conference-center-archi-union-plus-fab-union?ad_medium=gallery

Prince Mahidol Hall หรืออาคารมหิดลสิทธาคาร ประเทศไทย

โดยสื่อสารแนวคิดความงดงามของสรีระมนุษย์รวมถึงจุดเด่นและตัวตนของมหาวิทยาลัยผ่านรูปทรงของอาคาร โดยเลือกใช้โครงสร้างเหล็ก H-BEAM เพื่อเสริมให้ชิ้นส่วนและองค์ประกอบมีความคมชัดและโดดเด่นมากขึ้น

การเลือกใช้โครงสร้างเหล็ก H-BEAM ในงานก่อสร้างนั้นนอกจากจะรวดเร็วแล้ว ยังสามารถควบคุมคุณภาพของวัสดุทุกชิ้นได้อย่างเท่าเทียมกันตามมาตรฐานของโรงงานที่มีการควบคุมคุณภาพการผลิตในทุกขั้นตอน หมดห่วงเรื่องส่วนผสมวัสดุไม่คงที่และไม่ได้มาตรฐานไปได้เลย

อ้างอิงรูปภาพและข้อมูลจาก : http://www.a49.co.th/Projects/view/3

King Power Rangnam ประเทศไทย

อาคารแห่งนี้เป็นอาคารสาธารณะที่มีความโปร่ง โออ่า และมีรูปทรงเรียบง่ายทันสมัย สามารถรองรับการใช้งานของคนจำนวนมากได้อย่างแข็งแรงมั่นคง และยังทำให้ผู้ใช้งานไม่รู้สึกถึงความอึดอัด เทอะทะของอาคารด้วยการใช้โครงสร้างเหล็ก ซึ่งช่วยให้หน้าตัดหรือขนาดของโครงสร้างเล็กลงจากเดิมแต่ยังคงแข็งแรงและสามารถรับน้ำหนักได้ดีเช่นเดิม เพราะเหล็กกำลังสูงหรือ (High Strength Steel) สามารถรับแรงดึงได้ถึง 3600 ksc. (กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) และยังช่วยลดน้ำหนักของโครงสร้างลง ทำให้ขนาดของฐานรากเล็กลงไปด้วย

อ้างอิงรูปภาพและข้อมูลจาก : http://a49.co.th/projects/view/457

Nantong Public Cultural Center ศูนย์วัฒนธรรมที่เมือง Nantong ประเทศจีน

เป็นอาคารที่มีการออกแบบผสมผสานองค์ประกอบและสัดส่วนของอาคารพื้นถิ่นเข้ากับความทันสมัย และเพิ่มความโค้งเว้าบริเวณส่วนกลางของอาคารเพื่อลดความแข็งจากรูปทรงเหลี่ยมของอาคารลง โดยเลือกใช้โครสร้างเหล็กเข้ามาเป็นโครงสร้างหลักในอาคาร ทำให้การดัดโค้งหรือเว้าอาคารตามการออกแบบทำได้ง่ายและสวยงามมากขึ้น ช่วยให้ดีไซนเนอร์หรือสถาปนิกสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างอิสระ

อ้างอิงรูปภาพและข้อมูลจาก :

https://www.archdaily.com/967261/nantong-public-cultural-center-tjad-time-and-space-architecture?ad_medium=gallery

The Q1, ThyssenKrupp Quarter Essen อาคารสถาบันที่ตั้งอยู่ในเมือง Essen ประเทศเยอรมนี

ตัวโครงสร้างหลักเป็นเหล็กและติดตั้งกระจกเป็นผนังอาคารทำให้อาคารดูโปร่งและโล่ง ทั้งมีการออกแบบ Facade จากสแตนเลสที่ถูกติดตั้งตามทิศทางของดวงอาทิตย์ช่วยป้องกันแสงแดดได้ดีและไม่บดบังมุมมองจากภายในอาคาร  The Q1 ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นในด้านอาคารยั่งยืนและอาคารรักสิ่งแวดล้อมหลายรางวัลแสดงให้เห็นการเคารพและให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง

นอกจากอาคารโครงสร้างเหล็กสามารถออกแบบให้สอดคล้องและตอบรับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดีแล้ว ตัววัสดุเหล็กเองก็ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างได้มาก ทั้งลดฝุ่นละอองและเสียงรบกวนจากการก่อสร้าง และยังสามารถนำโครงสร้างกลับมาใช้งานใหม่ได้ไม่รู้จบอีกด้วย

อ้างอิงรูปภาพและข้อมูลจาก : https://www.archdaily.com/326747/q1-thyssenkrupp-quarter-essen-jswd-architekten-chaix-morel-et-associes?ad_medium=gallery