เตรียมความพร้อมสู่ยุค Net Zero Carbon นโยบายช่วยโลกที่เราทุกคนควรให้ความสำคัญ

เมื่อภาวะโลกร้อน คือหนึ่งในปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่ถือเป็นอีกส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนไม่น้อยจนส่งผลกระทบทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าหลายปีที่ผ่านมาจะพบว่าทุกๆ ฝ่ายได้พยายามแก้ไขปัญหามาโดยตลอด ตั้งแต่การกำหนดความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติปารีส (Paris Agreement) จนกระทั่งมีแนวคิด Net-zero เกิดขึ้น ซึ่งเป็นแนวคิดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ให้กลายเป็นศูนย์

แต่ทว่าแนวคิด Net-zero นั้นนับเป็นเป้าหมายที่มีความท้าทายอย่างมาก เพราะการจะลดก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ได้ จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือตลอดห่วงโซ่มูลค่า (value chain) ทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงผู้ใช้ปลายทาง ฉะนั้นนโยบาย Net-Zero จึงได้กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนควรให้ความสำคัญไปพร้อมๆ กัน


Net Zero Carbon คืออะไร? 

Net-zero คือเป้าหมายเกี่ยวกับการปรับสมดุลในชั้นบรรยากาศให้กลายเป็นศูนย์ ด้วยการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาให้สมดุลกับปริมาณการกำจัดออกไป เช่น การดักจับคาร์บอนก่อนปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิตและอุตสาหกรรม หรือการปลูกต้นไม้เพิ่มเพื่อช่วยฟอกอากาศ เป็นต้น

ขณะเดียวกันที่ประเทศไทยยังได้ถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงมาก ลำดับที่ 14 ของโลกต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว การกำหนดมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่ Net-Zero Carbon ปี 2602 ของประเทศไทยจึงได้มีออกมาถึง 6 มาตรการควบคุมด้วยกัน ได้แก่

การปรับพอร์ตการผลิตไฟฟ้าและการใช้เชื้อเพลิงสู่ Low Carbon, การเพิ่มสัดส่วนยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ, การจัดการของเสีย (Zero Waste to Landfill) ผ่าน BCG Model, การใช้ผลิตภัณฑ์และบริการ Low Carbon 2563-2073, การมุ่งสู่ Zero Burn และ Smart farming ผ่าน BCG Model และเทคโนโลยีดิจิตอล, และการดักจับ กักเก็บ ใช้ประโยชน์ และเทคโนโลยีไฮโดรเจน


แนวทางและเป้าหมายเป็นอย่างไร

จากการประชุมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 16 ของประเทศไทยที่ต้องมีการรายงานสถานะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกๆ 2 ปีนั้น ล่าสุดในปี 2563 ประเทศไทยมีแผนในการลดก๊าซเรือนกระจกระยะที่ 2 โดยกำหนดเป้าหมายในปี 2573 ให้ลดลง 20-25% จากปี 2563 ภายใต้การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงานและการขนส่ง 20.4%, ภาคการจัดการของเสีย 0.3%, และภาคอุตสาหกรรม 0.1%

ขณะที่กรอบแนวทางและศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกของทั่วโลก จากการลงนามความตกลงปารีส (COP21) ก็ได้มีการตั้งเป้าควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 2 องศา และพยายามจำกัดไม่ให้เกิน 1.5 องศา เช่นเดียวกัน“

Credit: https://www.carethebear.com/article/detail/15

ทำไมทุกคนและทุกองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญ

เพราะภาวะโลกร้อนเกิดจากกิจกรรมและกระบวนการผลิตต่างๆ เพื่อตอบสนองการดำรงชีวิตของทุกคนบนโลก การแก้ปัญหาครั้งนี้จึงเป็นภาระที่ทุกคนนั้นจำเป็นจะต้องช่วยกับแบกรับและตระหนักถึงข้อเสียที่จะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ

ขณะที่ Net-Zero แนวทางในการลดก๊าซเรือนกระจกให้กลายเป็นศูนย์ ก็นับเป็นข้อกำหนดที่องค์กรรวมถึงทุกห่วงโซ่อุปทาน อย่างปัจเจกบุคคลทั่วไปควรให้ความสำคัญอย่างเข้าอกเข้าใจว่าแต่ละกระบวนการมีการปลดปล่อยที่เกิดขึ้นอย่างไร เพื่อที่จะได้ช่วยกันหลีกเลี่ยง ควบคุม และผลักดันให้แนวทาง Net-Zero สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้ในปี 2573 ได้อย่างยั่งยืน