เหล็กโครงสร้างจากกระบวนการรีไซเคิล ช่วยสร้างโลกสีเขียวให้สิ่งแวดล้อมยั่งยืน

เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้น เศษวัสดุที่เหลือทิ้งบางชนิดที่หน้างานมีมูลค่าในตัวเอง สามารถแยกประเภทและนำไปขายเพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ เช่น เศษเหล็กชิ้นเล็ก ๆ ที่เกิดจากการตัดประกอบชิ้นส่วน โดยเศษเหล็กเหล่านี้จะกลายเป็นวัสดุตั้งต้นในการผลิตแบบ EAF ของ SYS ในการผลิตเหล็กโครงสร้างชิ้นใหม่ขึ้นมา

ซึ่งนอกจากจะได้เงินจากการขายเศษเหล็กแล้ว การแยกเศษเหล็กและนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลยังเป็นการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นลดการถลุงที่ทำลายธรรมชาติ ส่งเสริมการผลิตแบบ EAF ที่ประหยัดพลังงานได้มากกว่าเดิมและเป็นการใช้วัสดุอย่างเต็มประสิทธิภาพ

นอกจากนี้การรีไซเคิลเศษเหล็กเหลือทิ้งที่เกิดจากการก่อสร้างในประเทศ ให้วนกลับเข้าสู่การผลิตเหล็กในประเทศ ยังทำให้เกิดการหมุนเวียนทั้งในด้านวัสดุ แรงงานและเศรษฐกิจในประเทศด้วย

 

บริหารงานก่อสร้างและปริมาณวัสดุคือพาร์ทสำคัญของการก่อสร้าง

หน้าที่หนึ่งที่ผู้รับเหมาต้องให้ความสำคัญไม่แพ้การบริหารขั้นตอนการก่อสร้าง คือการบริหารวัสดุ ที่ต้องคำนวณปริมาณ เลือกประเภท และแหล่งที่มาที่เหมาะสม รวมไปถึงวางแผนการบริหารเศษวัสดุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากการก่อสร้างเสร็จว่าจะจัดการหรือทิ้งอย่างไรบ้าง

ในการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการก่อสร้าง บางครั้งผู้รับเหมาก็ลืมนึกไปว่า เศษวัสดุบางชนิดในงานก่อสร้างมีมูลค่าในตัวเอง สามารถเก็บรวบรวมและนำไปขายหรือรีไซเคิลต่อได้ เช่น เศษเหล็กที่เกิดจากการประกอบ 

ซึ่งการวางแผน บริหารการจัดการวัสดุหลังการก่อสร้างนี้จะช่วยให้หน้างานสะอาดและเรียบร้อยได้เร็ว ลดภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่งเศษวัสดุลง และในบางครั้งก็ได้เงินคืนกลับมาจากการนำเศษวัสดุไปขายเพื่อรีไซเคิลด้วย 

 

เศษเหล็กรีไซเคิล แปลงเป็นมูลค่ากลับได้

เศษเหล็กที่เกิดจากการประกอบชิ้นส่วน ถูกใช้เป็นเหล็กเพลทบริเวณรอยต่อ หรือเศษที่เกิดจากการตัดปลายชิ้นส่วน ซึ่งวัสดุเหล่านี้มีมูลค่า สามารถขายเพื่อนำไปรีไซเคิลเพื่อเป็นวัสดุตั้งต้นในการผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณใหม่ได้ การผลิตเหล็กโดยใช้เศษเหล็กรีไซเคิลนี้ ช่วยลดการทำลายธรรมชาติลงได้ เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ผู้รับเหมาสามารถใช้ช่วยรักษ์โลกได้ในทางอ้อม

 

เหล็กรีไซเคิลและกระบวนการ EAF ในไทย ช่วยรักษ์โลกได้จริง

เมื่อเศษเหล็กถูกขายและส่งต่อมายังบริษัทหรือโรงงานผลิตเหล็กในประเทศแล้ว จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการผลิตแบบ EAF (Electric Are Furnace) หรือการใช้พลังงานไฟฟ้าในการหลอมเศษเหล็กเหลือทิ้งเหล่านี้ก่อนจะหล่อขึ้นรูปเป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนท่อนใหม่ที่มีคุณสมบัติและความแข็งแรงที่ได้มาตรฐาน

ซึ่งกระบวนการ EAF นี้เป็นวิธีการผลิตที่ประหยัดพลังงานได้มากกว่าการผลิตเหล็กแบบเดิมถึง 75% และในกระบวนการผลิตยังใช้เศษเหล็กรีไซเคิลเป็นวัสดุหลักมากกว่า 95% ด้วย ซึ่ง SYS ก็เป็นหนึ่งบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านเหล็กโครงสร้างในประเทศที่ใช้เศษเหล็กเหลือทิ้งเหล่านี้มารีไซเคิลในกระบวนการ EAF ด้วยเช่นกัน เหล็กโครงสร้างจาก SYS จึงเป็นวัสดุที่ช่วยให้การก่อสร้างในทุก ๆ วันนี้มีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นได้

.

กระบวนการ EAF ไม่ใช่แค่ช่วยลดการทำลายธรรมชาติ ลดการถลุงเหล็กเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดการหมุนเวียนวัสดุที่มีอยู่ในระบบให้ถูกรีไซเคิลและใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งยังเป็นการหมุนเวียนเม็ดเงิน วัสดุและแรงงานในประเทศให้เกิดการพัฒนาและสมดุลอย่างยั่งยืนด้วย