นับถอยหลังสู่ Osaka World Expo 2025 มหกรรมระดับโลกที่ว่าด้วยเรื่องการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะเข้ามาช่วยให้การใช้ชีวิตในอนาคตของเราดีขึ้นในทุกด้าน ทั้งสุขภาพ อาหาร พลังงาน และศิลปวัฒนธรรม โดยจะมีนิทรรศการและกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เราร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเสนอไอเดียต่าง ๆ โดย Osaka World Expo 2025 จะจัดตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน – 13 ตุลาคม ปี 2025 นี้
Highlight ของปีนี้ยังคงเป็น Pavilion Design ของแต่ละประเทศ โดยปีนี้ผู้จัดงานกำหนดเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมออกมาทั้งส่วนที่ทุกประเทศต้องปฏิบัติตามและส่วนที่แนะนำให้ปฎิบัติตาม
เช่น การออกแบบให้ตรงตามเกณฑ์ CASBEE อาคารเขียวของญี่ปุ่น ออกแบบให้ประหยัดพลังงาน รวมไปถึงใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งช่วยให้งานในภาพรวมที่ครอบคลุมพื้นที่ใช้งานมากกว่า 155 เฮกตาร์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและลดผลกระทบต่อธรรมชาติในตลอดกระบวนการจัดงานได้อย่างเป็นรูปธรรม
World Expo จะจัดขึ้นทุก 5 ปี จึงถือเป็นโอกาสสำคัญที่เราจะได้เยี่ยมชม มีส่วนร่วมในงาน และอัปเดตเทรนด์โลกใหม่ ๆ จากทั่วทุกมุมโลกในงานเดียว อีกทั้งยังเป็นการสร้างมุมมอง แรงบันดาลใจในการออกแบบและก่อสร้างอาคารให้รักษ์สิ่งแวดล้อมที่เราสามารถนำกลับมาประยุกต์ต่อยอดใช้จริงในชีวิตหรือสังคมของเราต่อไปได้ด้วย
คอนเซ็ปต์ Designing Future Society for Our Lives เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสังคมในอนาคต
World Expo 2025 ปีนี้ จัดขึ้นที่เกาะ Yumeshima ในเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น พื้นที่จัดงานใหญ่ขนาดที่สามารถรองรับผู้เข้าชมได้มากกว่า 8 ล้านคน โดยในปีนี้จะเน้นไปที่การนำเสนอ แลกเปลี่ยน และจัดแสดงนวัตกรรมเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนหรือยกระดับให้ผู้คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่หน่วยงานหรือประเทศต่าง ๆ ที่นำสื่อมาจัดแสดง แต่คนที่เข้าชมงานก็สามารถมีส่วนร่วมได้เช่นกัน
ขอบคุณรูปภาพและที่มาจาก: EN_Design-Guidelines-for-Type-A-Self-Built-Pavilions_GL4-1-1.pdf
ภายใต้คอนเซ็ปต์หลักอย่าง Designing Future Society for Our Lives จะมีการแบ่งคอนเซ็ปต์ย่อย ๆ เป็น 3 ส่วน คือ Saving Lives, Empowering Lives และ Connecting Lives ซึ่งใช้กำหนดทั้งหัวข้อที่ Pavilion แต่ละประเทศนำมาจัดแสดง และใช้แบ่งโซนพื้นที่ในงานให้เป็นสัดส่วนด้วย Thailand Pavilion จะอยู่ในโซน Connecting Lives ตำแหน่ง A13
ด้วยการแบ่งโซนและให้แต่ละประเทศจำเสนอตามคอนเซ็ปต์นั้น ๆ คาดว่างานในครั้งนี้จะเต็มไปด้วยความน่าสนใจและสร้างแรงบันดาลใจด้านนวัตกรรมและเทคโลยีใหม่ให้กับทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ สิ่งแวดล้อม พลังงาน หรือการพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัย
(ขอบคุณรูปภาพและที่มาจาก: https://www.archdaily.com/search/all?q=grand%20ring&ad_source=jv-header )
ข้อกำหนดการก่อสร้างที่ต้องรักษ์โลก
ในการก่อสร้างอาคารหรือ Pavilion ทั้งหมดในงานนี้จะต้องเป็นไปตามเกณฑ์การก่อสร้างที่กำหนดเอาไว้ หลัก ๆ คือต้องมีการออกแบบก่อสร้างและจัดการให้ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะมีเกณฑ์ควบคุม 2 ระดับ คือ เกณฑ์ที่ “ต้อง” ปฏิบัติตาม เช่น อาคารทุกหลังต้องออกแบบให้ได้ตามเกณฑ์ CASBEE หรือเกณฑ์อาคารเขียวของญี่ปุ่น ในขอบเขตของอาคารชั่วคราว
และเกณฑ์ที่ “แนะนำ” ให้ปฎิบัติตาม เช่น แนะนำให้ Pavilion รองรับ Universal Design หรือออกแบบเพื่อให้คนทั้งมวลสามารถเช้าใช้งานได้สะดวกสบายไร้อุปสรรค การออกแบบอาคารประประหยัดพลังงาน ใช้ Passive Energy มากขึ้น ลดการใช้เครื่องปรับอากาศ ใช้วัสดุรีไซเคิล รื้อถอนง่าย นำกลับมาใช้ใหม่ได้หลังจบงาน หรือใช้วัสดุที่หาได้จากท้องถิ่นเพื่อลดการขนส่งที่ต้องใช้พลังงานมหาศาล รวมไปถึงแนะนำให้มีการจัดการทรัพยากรนี้ที่เหมาะสม และนำน้ำฝนกลับมาใช้งานใหม่อีกครั้ง
เกณฑ์การออกแบบ Pavilion ในงาน World Expo 2025 มีข้อกำหนดที่ครอบคลุมครบทุกด้านไม่ใช่แค่เพียงด้านสิ่งแวดล้อม แต่ยังครอบคลุมได้ถึงขนาด ระยะร่น และการออกแบบเพื่อให้ Venue ในภาพรวมมีความสวยงาม รองรับคนได้มากและใช้งานได้สบาย ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำให้กับผู้คนได้
(Switzerland Pavilion ขอบคุณรูปภาพและที่มาจาก: https://www.archdaily.com/1019073/swiss-pavilion-designed-by-manuel-herz-architekten-explores-lightweight-materials-at-expo-osaka-2025?ad_source=search&ad_medium=projects_tab&ad_source=search&ad_medium=search_result_all )
Pavilion Design กับคอนเซ็ปต์ “Circular Economy”
จาก Guideline รวมถึงเกณฑ์แนะนำในการออกแบบ Pavilion เพื่อให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับเป้าหมายของงาน Pavilion ของแต่ละประเทศที่จัดแสดงในงานยังสนับสนุน Circular Economy อย่างสมบูรณ์ด้วยการใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ทำงานกับผู้รับเหมาท้องถิ่นและส่งต่อวัสดุรีไซเคิลหลังจบงานแล้วไปใช้งานต่อได้
ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ช่วยลดการขนส่งวัสดุจำนวนมหาศาลจากทั่วโลก ทำให้ใช้พลังงานในการขนส่งน้อยลง อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนการทำงานร่วมกับทีมในท้องถิ่นที่มีความเชี่ยวชาญด้วย
เมื่อผนวก Circular Economy เข้ากับคอนเซ็ปต์รักษ์โลกแล้ว จึงทำให้ Pavilion Design ในปีนี้มีความน่าสนใจ นำเสนอนวัตกรรมเพื่อสร้างสังคมที่น่าอยู่ในอนาคตได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
(ซ้าย The Netherlands Pavilion ขวา Portugal Pavilion ขอบคุณรูปภาพและที่มาจาก: https://www.archdaily.com/1020259/the-netherlands-pavilion-explores-collaboration-and-clean-energy-systems-at-expo-2025-osaka?ad_source=search&ad_medium=projects_tab&ad_source=search&ad_medium=search_result_all และ https://www.archdaily.com/1024685/a-tribute-to-the-ocean-kengo-kuma-designs-portugal-pavilion-for-expo-2025?ad_source=search&ad_medium=projects_tab&ad_source=search&ad_medium=search_result_all )
เช่น Pavilion ของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่สื่อถึงพลังงานสะอาดจากดวงอาทิตย์และสายน้ำที่ไม่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ โดยในอาคารจะมีการนำวัสดุยั่นยืนและพลังงานสะอาดมาใช้งาน
Pavilion ประเทศโปรตุเกสออกแบบโดยสถาปนิก Kengo Kuma โดยใช้เชือกและตาข่ายรีไซเคิลตกแต่งฟาซาดอาคาร ซึ่งจะเล่นแสงและพลิ้วตามลม
(ซ้าย UK Pavilion ขวา Philippines Pavilion ขอบคุณรูปภาพและที่มาจาก: https://www.archdaily.com/1023979/woo-architects-designs-modular-uk-pavilion-for-osaka-expo-2025?ad_source=search&ad_medium=projects_tab&ad_source=search&ad_medium=search_result_all และ https://www.archdaily.com/1025612/philippine-pavilion-for-expo-2025-explores-interconnectedness-through-nature-culture-and-community?ad_source=search&ad_medium=projects_tab&ad_source=search&ad_medium=search_result_all# )
Pavilion ของอังกฤษปีนี้ออกแบบเป็นอาคาร 2 ก้อน ตามระบบ Modular Grid ออกแบบให้อาคารมีขนาด 10×10 ม. ทำให้การใช้และจัดการวัสดุมีประสิทธิภาพมากขึ้น เหลือเศษเหลือทิ้งน้อยลง มีการใช้พลังงานสะอาดจากลมและ Solar Roof ออกแบบโครงสร้างอาคารให้ทนไฟและมีฉนวนกันความร้อนเข้าสู่อาคาร ทำให้ใช้งานได้ในได้สบายขึ้น
Pavilion ประเทศฟิลิปปินส์ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น เส้นใยธรรมชาติ ผ้าไหม เส้นใยสับปะรด ไม้ไผ่ และใยอะบาก้า พืชพื้นถิ่นของฟิลิปปินส์ โดยสานเป็นแพทเทิร์นเฉพาะตัวของ 18 ชนเผ่าในประเทศ โดยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถซ่อมแซมเปลี่ยนใหม่ รีไซเคิลหรือนำไปใช้ประโยชน์หลังจากงานจบได้
(ขอบคุณรูปภาพและที่มาจาก: https://a49.com/Projects/view/1052 )
Thailand Pavilion ศาลาไทยโฉมใหม่ ในรูปแบบ Parametric Design
สำหรับ Pavilion ของประเทศไทยเองได้มีการวิเคราะห์และออกแบบให้สอดคล้องกับเกณฑ์ต่าง ๆ ของ World Expo 2025 เช่นกัน ในปีนี้ออกแบบโดยบริษัท สถาปนิก 49 จำกัด โดยมีเนื้อหาจัดแสดงเกี่ยวกับการเป็นหมุดหมายด้านสุขภาพแห่งใหม่ของโลก ผ่านเทคโนโลยีและแพทย์ภูมิปัญญาของไทย
(ขอบคุณรูปภาพและที่มาจาก: https://a49.com/Projects/view/1052 )
ด้านการออกแบบทีมสถาปนิกใช้ “เฉลว” สัญลักษณ์แห่งความโชคดีที่ใช้ปักตามที่นาหรือหม้อยาสมัยก่อนมาเป็นองค์ประกอบตกแต่งหลัก ออกแบบเป็นฟอร์มอาคารทรงจอมแห (สามเหลี่ยมองศาโค้ง) ที่ติดกับฉากกระจกช่วยสะท้อนให้เกิดภาพอาคารที่สมบูรณ์ ผสมผสานกับการใช้ไม้เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลายอบอุ่นสไตล์ไทย ๆ
มีการใช้องค์ประกอบงานพื้นถิ่นไทยในสเกลเล็ก ๆ ตกแต่งโดยรอบ เช่น ประติมากรรมจักสาน ช้าง รวมไปถึงต้นสมุนไพรไทย เพื่อให้ผู้เข้าชมมีปฏิสัมพันธ์กับความเป็นไทยอย่างใกล้ชิด
ใช้ Parametric Design ในการออกแบบอาคารในภาพรวมให้สัมพันธ์กัน ทั้งขนาดพื้นที่ ฟอร์มอาคาร และการประหยัดพลังงาน อีกทั้งยังมีการใช้วัสดุในพื้นที่ที่สามารถจัดการได้ง่าย เพื่อลดการเกิดขยะหลังจบงาน
Osaka World Expo 2025 เป็นงานที่ผู้เข้าชมจะได้รับทั้งความบันเทิง ประสบการณ์ในระดับนานาชาติและเปิดโลกด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมที่ส่งเสริมให้การใช้ชีวิตในอนาคตมีคุณภาพมากขึ้น
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือการเดินหน้าด้านสิ่งแวดล้อมที่ทุกประเทศร่วมมือกันอย่างเต็มที่ จนเกิดเป็นรูปธรรม ซึ่งส่งเสริมให้ระหว่างที่จัดงานและหลังจัดงาน World Expo ที่ใหญ่ขนาดนี้สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างแท้จริง