นอกจากการรับชมสุนทรียภาพจากงานดีไซน์ที่หลากหลายและสนุกสนานไปกับการเชียร์กีฬาในโอลิมปิกที่จัด 4 ปีครั้ง ปารีส โอลิมปิกครั้งนี้เรายังได้เทคนิคเรื่องการจัดการงานก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมาด้วย
เพราะโอลิมปิกเป็นมหกรรมระดับโลกที่ยิ่งใหญ่ เป็นงานที่นักท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่ และนักกีฬาจากทั่วโลกเดินทางมายังประเทศเจ้าภาพเพื่อร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง ผลที่ตามมา คือ การอุปโภคบริโภคและการใช้พลังงานที่สูงขึ้น จากการขนส่ง การประกอบอาหาร ตลอดจนการก่อสร้างอาคารเพื่อรองรับการใช้งาน ส่งผลให้เกิดมลภาวะรบกวนสิ่งแวดล้อมและปล่อยคาร์บอนทำลายชั้นบรรยากาศ
ในปารีส โอลิมปิกปีนี้จึงตั้งเป้าหมายที่จะทำให้มหกรรมกีฬานี้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าจะลดการปล่อยคาร์บอนลง 50% หรือปล่อยให้น้อยลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับงานริโอ โอลิมปิก 2016 และลอนดอน โอลิมปิก 2020 ทำให้ทีมงานต้องวางแผนและออกแบบทุกส่งให้รักษ์โลกและประหยัดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานจากแหล่งผลิตพลังงานสะอาด การรีไซเคิลพลาสติกเป็นของใช้ในงาน หรือการเลือกใช้ไม้จากป่าปลูกมาเป็นโครงสร้างหลักในการก่อสร้างสนามกีฬาหรืออาคารต่าง ๆ แต่นอกเหนือจากไม้แล้ว อีกหนึ่งวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยเปลี่ยนแปลงให้การก่อสร้างรักษ์โลกมากขึ้นได้ก็คือเหล็กโครงสร้าง
SYS ในฐานะที่เป็นหนี่งในผู้ผลิตเหล็กที่ใส่ใจและและให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน เล็งเห็นว่าเราสามารถนำเทคนิคการจัดการงานก่อสร้างให้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายในงานงานปารีส โอลิมปิกเหล่านี้มาประยุกต์ใช้กับการก่อสร้างในประเทศไทยเราได้เพื่อให้งานก่อสร้างของเราแข็งแรงและรักษ์โลกไปพร้อม ๆ กันได้อย่างยั่งยืน
ขอบคุณรูปภาพและที่มาจาก :
ใช้อาคารที่มีอยู่แล้ว ลดการปล่อยคาร์บอนจากการสร้างอาคารใหม่
มหกรรมกีฬาหลายงาน เช่น เอเชียนเกมส์หรือในปารีส โอลิมปิกครั้งนี้ก็ดี นอกจากจะเป็นการมารวมตัวกันของผู้คนจำนวนมาก มีการใช้ยานพาหนะและพลังงานมากขึ้นแล้ว ในการแข่งขันยังมีการสร้างอาคารหรือสนามกีฬาใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับชนิดกีฬาที่ทำการแข่งขันด้วย ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อนที่มากขึ้นตามไปด้วย
ขอบคุณรูปภาพและที่มาจาก:
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=509487388401479&set=pb.100080206670966.-2207520000&type=3
ขอบคุณรูปภาพและที่มาจาก:
https://www.bsnsports.com.ng/post/Purple-Track-Stade-de-France-Unveiled-For-Paris-2024-Olympics
ในปารีส โอลิมปิกครั้งนี้ จะจัดการแข่งขันส่วนใหญ่ในอาคารเดิมที่มีอยู่แล้วกว่า 35 แห่งในเมืองเพื่อลดการก่อสร้างลง เช่น ปรับ Grand Palais เป็นสนามกีฬาฟันดาบ จัดกีฬาประเภทลู่ – ลานใน Stade de France สนามกีฬาเดิม ที่มีการเปลี่ยนพื้นเป็นสีม่วงแปลกตา
ขอบคุณรูปภาพและที่มาจาก:
ทำให้มีอาคารถาวรที่ถูกสร้างขึ้นใหม่เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น นั่นคือหมู่บ้านสื่อมวลชน หมู่บ้านนักกีฬาศูนย์กีฬาทางน้ำ Aquatics Centre รวมไปถึงยิมเนเซียมสำหรับแบดมินตันและยิมนาสติกลีลา นอกเหนือจากนั้นจะเป็นสนามกีฬาชั่วคราวที่จะถูกรื้อถอนหลังทำการแข่งขันเสร็จ ซึ่งทั้งหมดถูกออกแบบและก่อสร้างด้วยวัสดุที่รักษ์โลก รวมถึงมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และกังหันลมบนชายฝั่งนอร์มังดีเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในอาคารด้วย
ขอบคุณรูปภาพและที่มาจาก:
โครงสร้างต้องรักษ์โลก รื้อถอนได้ นำไปใช้งานต่อสะดวก
แม้โอลิมปิกปีนี้จะใช้อาคารเดิมที่มีอยู่เป็นส่วนใหญ่ แต่สำหรับกีฬากลางแจ้ง เช่น วอลเลย์บอลชายหาด ขี่ม้า สเกตบอร์ดหรือ BMX Freestyle ทางงานมีการวางคอนเซ็ปต์ให้สนามกีฬามีฉากหลังเป็น Iconic Landmark ของกรุงปารีสจึงต้องสร้างโครงสร้างชั่วคราวขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสนามรวมถึงอัฒจันทร์ของผู้ชม
ขอบคุณรูปภาพและที่มาจาก:
https://olympics.com/en/paris-2024/venues/aquatics-centre
การก่อสร้างทั้งหมดในปารีส โอลิมปิกเลือกใช้โครงสร้างไม้รักษ์โลกเป็นส่วนใหญ่ โดยเป็นโครงสร้างไม้จากป่าปลูกที่เป็นป่าไม้ทดแทน ลดการทำลายป่าตามธรรมชาติ อีกทั้งยังลดการใช้คอนกรีตหรือวัสดุที่อาจเพิ่มปริมาณการปล่อยคาร์บอน นอกจากนี้ยังมีการนำวัสดุรีไซเคิลมาประยุกต์ใช้งานในอาคาร เช่น ในศูนย์กีฬาทางน้ำที่ออกแบบเก้าอี้มาจากพลากสติกรีไซเคิล
ขอบคุณรูปภาพและที่มาจาก:
ขอบคุณรูปภาพและที่มาจาก:
ส่วนโครงสร้างชั่วคราวเลือกใช้วัสดุที่รักษ์โลก ก่อสร้างเร็ว รื้อถอนง่าย ถูกปรับปรุงและถูกออกแบบให้มีความแข็งแรงรองรับการใช้งานตลอดการแข่งขันได้อย่างมั่นคง เมื่อการแข่งขันจบลงโครงสร้างชั่วคราวนี้จะถูกรื้อถอนและส่งมอบวัสดุให้กับโครงการหรือชุมชนอื่นนำไปใช้งานต่อไป จึงเป็นการใช้ประโยชน์จากวัสดุอย่างเต็มที่เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด
เหล็กโครงสร้าง หนึ่งวัสดุก่อสร้างที่ตอบโจทย์การรักษ์โลก
เทคนิคในการจัดการก่อสร้างรวมถึงแนวทางในการลดการปล่อยคาร์บอนจากงานปารีส โอลิมปิก 2024 ที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้มีหลายมุมมอง โดยเฉพาะในเรื่องของการเลือกใช้วัสดุมาเป็นโครงสร้างอาคาร ปารีส โอลิมปิกเลือกใช้โครงสร้างไม้เป็นวัสดุหลัก เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ได้ก่อสร้างอาคารหลังใหม่ การใช้ไม้จากป่าปลูกในพื้นที่จึงช่วยประหยัดงบและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากกว่า
แต่สำหรับการก่อสร้างในประเทศไทยที่ต้องการโครงสร้างที่แข็งแรง ใช้งานได้ยืดหยุ่นและรักษ์โลกไปพร้อมกัน การเลือกใช้เหล็ก H-BEAM จาก SYS มาเป็นโครงสร้างอาคารสามารถช่วยเรื่องการปล่อยคาร์บอนและมลพิษ เช่น เสียงหรือฝุ่นจากการก่อสร้างได้
เพราะเหล็ก SYS ผลิตในโรงงานที่ได้มาตรฐาน นำเหล็กรีไซเคิลมาผ่านกระบวนการ EAF ในการผลิตเหล็กท่อนใหม่ ซึ่งเป็นการผลิตที่ลดการปล่อยคาร์บอนได้มีประสิทธิภาพกว่าการถลุงแบบเดิมเกือบ 3 เท่า รวมไปถึงควบคุมฝุ่นละอองที่จะลอยออกสู่ชั้นบรรยากาศ
อีกทั้งในการก่อสร้างยังไม่ต้องเตรียมการหน้างานให้ยุ่งยาก สามารถยกติดตั้งด้วยการเชื่อมหรือขันประกอบเป็นทั้งโครงสร้างถาวร โครงสร้างต่อเติมและโครงสร้างชั่วคราวได้ทั้งหมด และหลังจากใช้งานเสร็จแล้วชิ้นส่วนเหล็กเหล่านี้ยังสามารถหมุนเวียนกลับคืนสู่กระบวนการผลิตได้แทบทั้งหมดด้วย
ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้เหล็ก H-BEAM จาก SYS ถือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ตลอดวัฏจักร เหมาะกับการก่อสร้างที่ต้องการเปลี่ยนให้อาคารรักษ์โลกและยั่งยืนได้