Cellular Beam ช่วยจัดการงานระบบในอาคารได้ง่ายกว่า

ขั้นตอนหลังจากการก่อสร้างโครงสร้างอาคาร คือการวางงานระบบภายในอาคาร เรามักจะเห็นว่าท่องานระบบต่าง ๆ จะถูกเดินไปตามโครงสร้าง บางจุดมีการร้อยผ่านท่อทะลุคานไปและบางจุดก็ทำการเลี้ยวเพื่อหลบหลีกส่วนของคานลงมาด้านล่าง ในท่อที่มีขนาดเล็กมักจะไม่เจอปัญหา แต่ในงานระบบที่มีท่อขนาดใหญ่ขึ้น การเลี้ยวหลบหรือทำการร้อยทะลุโครงสร้างไปอาจจะกระทบต่อความแข็งแรงของโครงสร้างและอาจไปกินพื้นที่ของฝ้าเพดาน ทำให้ระยะความสูงของห้องลดลงได้ 

Cellular Beam จึงเป็นวัสดุโครงสร้างอีกรูปแบบหนึ่งที่เราสามารถนำจุดเด่นจากการมีรูตรงกลางชิ้นส่วนมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับการเดินงานระบบได้ โดยความกว้างของรู Cellular Beam นั้นก็มีขนาดใหญ่มากพอที่จะร้อยท่องานระบบผ่านไปได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้า ระบบสายสื่อสาร ระบบอากาศขนาดเล็ก หรือระบบน้ำประปาและน้ำเสีย เมื่อตำแหน่งร้อยท่อถูกขยับขึ้นมาอยู่ในระนาบเดียวกับโครงสร้าง โดยที่ไม่ได้รบกวนความแข็งแรงของโครงสร้าง เราก็จะสามารถรักษาความแข็งแรงของอาคารและความสูงของระดับฝ้าภายในห้องเอาไว้ได้

 

ให้ทุกระบบท่อ เชื่อมต่อกันอย่างเป็นระเบียบด้วย Cellular Beam

ส่วนของโครงสร้างอาคาร ไม่ใช่แค่การออกแบบเพื่อให้รับน้ำหนักได้ดีเพียงอย่างเดียว แต่ต้องออกแบบเผื่อการวางท่อในงานระบบต่าง ๆ ด้วย เพื่อที่จะเดินท่อได้ตรงตามระยะ ตรงตามทิศทางและความลาดเอียงที่ต้องการได้ถูกต้อง ถ้าหากโครงสร้างอาคารของเราไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อวางระบบท่อที่เหมาะสม ก็อาจส่งผลให้ระบบท่อในอาคารไม่เป็นระเบียบ สับสนสะเปะสะปะ ลาดเอียงได้ไม่พอดี และอาจส่งผลให้ความสูงของเพดานถูกลดต่ำลงไป จนทำให้พื้นที่ภายในอาคารทึบตันได้

ดังนั้นนอกจากเราจะต้องออกแบบโครงสร้างให้มีความแข็งแรงแล้ว การเลือกใช้ชิ้นส่วนโครงสร้างที่มีรูปแบบที่เหมาะหรือช่วยให้การวางระบบทำได้ง่ายขึ้น อย่างการใช้ Cellular Beam ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้เราได้ทั้งงานโครงสร้างที่แข็งแรง ได้โครงสร้างที่จัดการท่องานระบบได้ง่าย แถมยังรักษาระยะความสูงของฝ้าเพดานที่ต้องการเอาไว้ได้ด้วย

Cellular Beam มีจุดเด่นด้วยการมีช่องว่างหรือรูตรงกลางชิ้นส่วน ซึ่งเป็นจุดที่ถูกตัดและเชื่อมประกอบเพื่อขยายความสูงช่วงเอวและทำให้น้ำหนักของโครงสร้างลดลง ข้อดีคือทำให้สอดท่องานระบบผ่านเข้าไปได้ ยกตัวอย่างขนาดเหล็ก H-BEAM ที่นิยมทำเป็น Cellular Beam ในงานก่อสร้างอาคาร เช่น เหล็ก H 400 x 200 นำมาทำเป็น Cellular Beam จะมีค่าเฉลี่ยของเส้นผ่านศูนย์กลางรูขั้นต่ำอยู่ที่ 36 ซม. เป็นต้น 

จากตัวอย่างนี้ ทำให้เห็นว่า ในคานเหล็กขนาดใหญ่สุดหรือเล็กสุดที่นิยมใช้ในการเป็นโครงสร้างอาคาร ขนาดช่องวางหรือรูของ Cellular Beam นั้นยังมีขนาดที่กว้างมากพอให้ท่องานระบบไฟฟ้า หรือท่องานระบบประปาหรือน้ำเสียที่มีขนาดประมาณ
2 – 4 นิ้ว สามารถสอดผ่านไปได้สบาย ๆ และยังมีที่ว่างมากพอรองรับองศาและความลาดชันของท่องานระบบนั้น ๆ ได้ด้วย

 

ร้อยท่องานระบบผ่าน Cellular Beam ช่วยให้ฝ้าเพดานสูงโปร่งมากขึ้นได้

แน่นอนว่าเมื่อตัวท่อของงานระบบถูกจัดการและย้ายที่ทางขึ้นไปอยู่ในระนาบเดียวกับชิ้นส่วนโครงสร้างของ Cellular Beam อีกทั้งยังสามารถเดินท่อให้ลอดผ่านช่องว่างในตัวของ Cellular Beam ได้ จึงไม่เกิดปัญหาที่เราจะต้องสูญเสียระยะความสูงบางส่วนของฝ้าเพดานจากการที่เราต้องเลี้ยวท่อลงมาใต้โครงสร้าง ตัวอาคารจึงสามารถรักษาระยะความสูงจากผิวบนพื้นถึงท้องฝ้าได้ตามที่ตั้งใจไว้ ด้วยขนาดที่กว้างมากพอของช่องว่างใน Cellular Beam ทำให้การวางหรือสอดผ่านท่อของงานระบบต่าง ๆ สามารถทำได้ง่าย ตรงตามระยะที่ถูกต้อง โดยเฉพาะงานท่อประปาและน้ำทิ้งที่ต้องมีขนาด ทิศทางและความลาดเอียงที่เหมาะสม ด้วยความกว้างที่เพียงพอนี้ ทำให้สามารถรองรับองศาการลาดเอียงของท่อได้ดีแบบไม่มีปัญหา
มีหนึ่งโครงการที่มีการใช้งานเหล็ก H-BEAM นำมาทำเป็นโครงสร้าง Cellular Beam แล้วผสมผสานเข้างานระบบได้อย่างลงตัวนั้นก็คือ อาคารสำนักงาน EEC ACADEMY 2 สามารถเข้าไปชมรายละเอียด โครงการนี้ได้ที่
YouTube Channel : SYS STEEL : SYS is all around | EP.9 | อาคาร EEC ACADEMY 2 ตาม Link นี้กันได้เลย
https://youtu.be/M3mI-21Bsxc 

 

เริ่มต้นจัดการงานระบบในอาคารได้ง่ายๆ ด้วยการใช้ Cellular Beam จาก SYS 

แม้หน้าตาของ Cellular Beam จะดูมีความซับซ้อนมากกว่าเหล็กโครงสร้างทั่ว ๆ ไป แต่การใช้งานกลับไม่ได้ซับซ้อนเหมือนหน้าตา เพราะเราสามารถใช้งาน Cellular Beam ได้ง่าย ๆ ด้วยการสั่งซื้อโดยตรงจากโรงงานหรือแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ เช่นเดียวกับการเลือกใช้งาน Cellular Beam จาก SYS ที่ทาง SYS มีทั้งทีมผู้เชี่ยวชาญอย่าง Steel Solution by SYS ที่จะช่วยแนะนำโครงสร้าง Cellular Beam ที่เหมาะสม ก่อนสั่งผลิตชิ้นส่วน เพื่อให้เราได้ชิ้นส่วนที่ถูกต้องไปใช้งานแบบไม่เปลืองแรง และมีทั้งโปรแกรมคำนวณ Cellular Beam เบื้องต้นที่จะช่วยคำนวณหาขนาด จำนวนและระยะห่างที่เหมาะสมของรูหรือช่องว่างของ Cellular Beam ที่เหมาะกับการใช้งานในแต่ละโครงการของเราได้ การเริ่มต้นเลือกใช้วัสดุและบริการที่ช่วยเตรียมการ Cellular Beam ให้พร้อมใช้ตั้งแต่ต้น จึงช่วยให้เรานำ Cellular Beam มาใช้งานได้สะดวกและตอบโจทย์การจัดการงานระบบได้ดีมากกว่าเดิม