CARBON CREDIT นโยบายสร้างความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่กระบวนการผลิต

ในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญกับกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้นในทุกภาคส่วน นั่นรวมไปถึงภาคการผลิตและการก่อสร้างด้วยซึ่งถือว่าเป็นส่วนใหญ่และเป็นส่วนหลักในการทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทั้งอากาศและธรรมชาติ ซึ่งนอกจากจะมีนโยบายเรื่อง Carbon Credit ออกมาแล้ว ในหลายๆประเทศทั่วโลกยังมีนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ออกมาเพื่อตรวจสอบ ควบคุมสินค้า วัสดุ การดำเนินการต่างๆและการนำเข้าสินค้า ให้สอดคล้องกับนโยบายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย Green Plan ของสิงคโปร์ Green New Deal ของเกาหลีใต้ Green Growth Strategy ของญี่ปุ่น หรือแม้แต่นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรป จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของโครงการและภาคการผลิตต่างๆที่ต้องการขยายตลาดหรือต้องการยกระดับการดำเนินการให้เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก การปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อมเหล่านี้และมี Carbon Credit ที่ดี จะช่วยเปิดโอกาสและเปิดตลาดได้กว้างขึ้น อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งกำลังในการร่วมมือปกป้องสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ตลาดยุโรปและนโยบาย European Green Deal ความท้าทายของวัสดุและการผลิตไทย
สหภาพยุโรปถือเป็นตลาดสำคัญสำหรับการเติบโตของสินค้ารักษ์โลก ซึ่งตามนโยบายของ European Green Deal นั้นมีข้อเป้าหมายหลักๆ ที่นำ Carbon Credit มาปรับใช้อยู่ 3 ข้อ คือการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์และสิ่งแวดล้อมปลอดสารพิษ ซึ่งข้อสำคัญที่ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมและสินค้าจากประเทศไทยคือ สินค้าจากนอกสหภาพยุโรปจะต้องมีการถูกพิจารณาและเรียกเก็บค่าคาร์บอนตาม CBAM เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้สินค้าและวัสดุที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต่ำเข้ามาในประเทศสหภาพยุโรป ซึ่งกลุ่มสินค้าแรกที่จะถูกพิจารณาคือกลุ่ม บริการไฟฟ้า ซีเมนต์ ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า และอะลูมิเนียม

โดยค่าคาร์บอนนั้นจะแปรผันไปตามปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่แต่ละโรงงานปล่อยออกมา ผู้ผลิตหรือเจ้าของโครงการจึงต้องพยายามรักษามาตรฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงงานให้น้อยเพื่อให้ค่าคาร์บอนนั้นน้อยตามไปด้วย หากผู้ประกอบการในไทยสามารถผลิตและส่งออกสินค้าที่สอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ได้มากเท่าไหร่ โอกาสที่ตลาดและนักลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะในสหภาพยุโรปจะให้ความสนใจก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ถือเป็นการลงมือเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตที่ช่วยสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งานสินค้าและรักษาสิ่งแวดล้อมไว้ได้อย่างยั่งยืน

Carbon Credit เครดิตที่เอื้อประโยชน์ที่ดีต่อทุกฝ่าย
จะเห็นได้ว่าในหลายๆประเทศมีนโยบายในการนำ Carbon Credit มาใช้งาน เรื่องของ Carbon Credit จึงเป็นเหมือนช่องทางใหม่ในการทำธุรกิจและทำให้ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศมากขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องหาข้อมูลเรื่อง Carbon Credit เอาไว้ ซึ่งจุดเริ่มต้นของ Carbon Credit เกิดขึ้นจากพิธีสารโตเกียว ในปี พ.ศ.2540

ซึ่งเป็นพันธกรณีระหว่างประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั่วโลกในขณะนั้นให้ร่วมมือกันลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้มีปริมาณที่ลดลง ไม่ว่าจะเป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ เป็นต้น ซึ่งปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถปล่อยได้ต่อปีจะถูกกำหนดเอาไว้ และโรงงาน

Carbon Credit คือการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกลดหรือถูกดูดซับไประหว่างการผลิตหรือการดำเนินการของโรงงานอุตาหกรรม โดยปริมาณทั้งที่มากกว่าและน้อยกว่าข้อกำหนดจะเปลี่ยนแปลงเป็นเหมือนสินค้า ที่ให้แต่ละโรงงานหรือหน่วยงานสามารถซื้อขายกันได้ เพื่อให้โรงงานของประเทศพัฒนาแล้วมี Carbon Credit ที่ตรงตามข้อกำหนดและเป็นการช่วยเหลือสนับสนุนให้โรงงานในประเทศกำลังพัฒนามีการควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในปริมาณที่พอดี ถือเป็นการร่วมมือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน

ปรับเปลี่ยนมุมมอง ช่วยเพิ่ม Carbon Credit และช่วยเพิ่มโอกาส

Carbon Credit นั้นสามารถวัดหรือได้มาจาก 2 วิธีการ คือ การเปลี่ยนโรงงานให้เป็นโรงงานที่ใช้พลังงานสะอาด (Clean Development Mechanism, CDM) ที่โรงงานจะต้องมีการใช้พลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียนในอาคารและขั้นตอนการทำงาน รวมไปถึงการบำบัดน้ำเสียและการจัดการขยะที่เป็นระบบและถูกต้อง และอีกวิธีหนึ่งคือ การซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือปริมาณ Carbon Credit ระหว่างหน่วยงานหรือโรงงาน ทำให้โรงงานขนาดใหญ่มีสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากขึ้น ในขณะที่โรงงานขนาดเล็กเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีรายได้จากการขาย Carbon Credit 

ซึ่งองค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกประเทศไทยได้มีการพัฒนาระบบวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในการผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ทราบถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเหล่านั้นและจัดทำเป็นโครงการ T-VERs ที่ให้ผู้ประกอบการในไทยสามารถใช้งาน Carbon Credit หรือเสียค่าคาร์บอนได้ที่ต้นทางประเทศไทย ลดความยุ่งยากในการจัดการค่าคาร์บอนเมื่อสินค้าไปถึงปลายทาง และกำลังดำเนินการให้การรองรับจาก T-VERs สามารถใช้ทดแทนและสอดคล้องนโยบายสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศได้มากขึ้น ดังนั้นประโยชน์ที่ได้จาก Carbon Credit นอกจากจะเพิ่มโอกาสให้กับสินค้าอุตสาหกรรมแล้วยังช่วยควบคุมให้การผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นด้วย