Steel Solution by SYS เพื่อนคู่คิด ทางเลือกสำหรับการก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กในธุรกิจของคุณ

ประเทศไทยมี Road Map ใหญ่ในการกำหนดทิศทางบริหารประเทศอยู่ โดยอ้างอิงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับล่าสุด คือ ฉบับที่ 13 (2566-2570) สิ่งนี้เป็นกรอบสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย มีเป้าหมายในการสร้างความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานตลอดจนการลงทุน

โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ แต่ละฉบับจะมีจุดที่เน้นแตกต่างกันไปตามบริบทและเทรนด์ของโลกในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งถ้าเปรียบเทียบฉบับ 12 ที่ผ่านมาและฉบับ 13 ที่เป็นฉบับล่าสุด จะเห็นได้ถึงการยกระดับนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาผนวกกับการพัฒนา เช่น Smart Infrastructure รวมถึงส่งเสริมกระบวนการและโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับล่าสุดนี้ ส่งผลให้การก่อสร้างทั้งของภาครัฐและเอกชนเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เช่น โครงสร้างต้องสอดคล้องกับเทคโลยีและนวัตกรรมได้ดี โครงสร้างต้องตอบโจทย์การใช้งานขององค์กรที่เข้ามาลงทุนในไทย เช่น Data Center ที่ต้องการ Long Span และรับน้ำหนักได้แข็งแรง หรือโครงสร้างต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกว่าเดิม ซึ่งเป็นจุดที่นักลงทุนหรือผู้บริโภคในตลาดต้องการ และหากประเทศมีการพัฒนาไปในแนวทางนั้น การลงทุนต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดเศรษฐกิจที่หมุนเวียนและเติบโตได้ดีขึ้น

 

เดินหน้าปรับตัวสู่โลกยุคใหม่ เป้าหมายหลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับล่าสุด 

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566-2570) จะเน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อกระจายและเพิ่มพื้นที่เศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาคมากขึ้น ที่ไม่ใช่แค่ระเบียงเศรษฐกิจ EEC เช่น NEC (ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ) SEC (ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้) เพื่อให้ภาพรวมในประเทศมีการเติบโตพร้อมรองรับการลงทุนจากทั้งในและนอกประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นแผนพัฒนาที่เน้นการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม IoT (Internet of Things) และเทรนด์สิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นจริงจังเข้ามาประยุกต์กับโครงสร้างและนโยบายต่าง ๆ ด้วย

ไม่ใช่แค่ย่าน EEC แต่เร่งพัฒนามากกว่านั้น

เขตพื้นที่ EEC หรือเขตอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก ถือเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ทำให้มีการจัดตั้งโรงงาน โกดัง บริษัท นำไปสู่การจ้างงาน ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า ซึ่งในแผนพัฒนาฉบับล่าสุดนี้จะมีการกระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิอื่น ๆ ด้วย ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศตามมา

ไม่ว่าจะเป็นการกระจายและขยายโอกาสไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ที่มีทรัพยากรหรือความสามารถพร้อมให้สามารถเติบโตมากขึ้นได้ ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดเศรษฐกิจที่หมุนเวียน คือ มีตำแหน่งงาน การจ้างงานมากขึ้น มีการฝึกทักษะแรงงาน มีเงินหมุนเวียนที่มั่นคงและลดความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจจากการพึ่งพา EEC เพียงที่เดียวอีกต่อไป

 

ต่อยอด Smart Infrastructure และ IoT 

สิ่งที่ตามมาหลังจากนโยบายหรือแผนกระจายระเบียงเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นในระดับภูมิภาค คือ ระบบโครงสร้างพื้นฐานของภาคเหนือและภาคใต้ เช่น ถนน ทางสัญจรสาธารณะ ระบบไฟฟ้า น้ำประปาต่าง ๆ จะถูกพัฒนาและก่อสร้างตามไป เพื่อเข้ามารองรับการใช้งานของเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้น

ระบบโครงข่ายสาธารณะเหล่านี้จะมีการประยุกต์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาร่วมด้วย เรียกได้ว่าเป็น Smart Infrastructure ที่จะช่วยให้การใช้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น เช่น โครงข่ายรถไฟรางคู่ที่จะช่วยลดเวลาและรักษาคุณภาพขณะขนส่ง ระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อประสิทธิภาพในการเดินทาง เพิ่มความได้เปรียบในตลาด ตลอดจนศูนย์โลจิสติกส์อัจฉริยะที่นำระบบ AI, IoT เข้ามาบริหารจัดการคลังสินค้า

 

แผนเปลี่ยน โลกเปลี่ยน การก่อสร้างเปลี่ยนตาม

เมื่อเศรษฐกิจเปลี่ยน….การก่อสร้างก็ต้องปรับตัว ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจไทยและเทรนด์โลกที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมก่อสร้างไม่สามารถหยุดนิ่ง แต่ต้องปรับแนวทางพัฒนาโครงการและสร้างสรรค์สิ่งปลูกสร้างที่ตอบโจทย์อนาคต ที่มุ่งเน้นให้สอดคล้องกับเกณฑ์รักษ์โลกทั้งของไทยและสากล เพื่อเพิ่มโอกาสทางตลาดและขับเคลื่อนประเทศให้บรรลุนโยบาย Net Zero ในอนาคตข้างหน้า

นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนการก่อสร้างให้สอดคล้องกับเทรนด์โลกยังช่วยเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ในการเข้ามาลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และดิจิตอลที่ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยสูงเป็นอันดับแรก ๆ มาตลอดหลายปี จึงทำให้ในไทยมี Data Center เข้ามาลงทุนหลากหลาย ซึ่งหากสามารถเลือกใช้วัสดุได้ดี ออกแบบสวยงาม ก่อสร้างได้รวดเร็วแข็งแรง โอกาสในจุดนี้ก็จะเพิ่มมากขึ้น และหากการก่อสร้างมีคุณสมบัติหลากหลายขึ้นโอกาสในอุตสาหกรรมใหม่ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

 

เหล็ก SYS กับการปรับตัวพร้อมสนับสนุนไทยในอนาคต

ในปัจจุบันการแข่งขันในตลาดโลกสูงขึ้นมาก ดังนั้นเรื่องคุณภาพและเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้ความสำคัญ เหล็ก SYS เองนั้นเป็นเหล็กที่ถูกผลิตสำเร็จจากโรงงานที่ได้มาตรฐานและควบคุมนโยบายเรื่องสิ่งแวดล้อมดีเยี่ยม ทั้งยังมีบริการเสริมต่าง ๆ ที่ช่วยซัปพอร์ตในการก่อสร้างอาคารในภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว 

ที่สำคัญ คือเหล็ก SYS เป็นวัสดุก่อสร้างที่ผลิตจากเศษเหล็กรีไซเคิล 100% โดยกระบวนการ EAF จึงเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าเหล็กที่ผลิตจากการถลุงที่ส่วนใหญ่เป็นเหล็กที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ การเลือกใช้เหล็ก SYS ในการก่อสร้างนอกจากจะทำให้ได้โครงสร้างที่แข็งแรงแล้ว ยังได้เรื่องรักษ์โลกที่สอดคล้องกับเทรนด์ปัจจุบันอย่างเป็นรูปธรรมด้วย

อีกทั้งโครงสร้างจากเหล็ก SYS โดยเฉพาะเหล็กโครงสร้างกำลังสูง เกรด SM520 ยังตอบโจทย์การก่อสร้าง Data Center ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงอาคารในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพราะสามารถออกแบบ Long Span ได้ตามต้องการและยังรับน้ำหนักได้แข็งแรงมากขึ้น ทั้งยังตอบโจทย์การก่อสร้างในระบบโครงข่ายพื้นฐาน เช่น สถานีรถไฟ อาคารผู้โดยสารสนามบิน ท่าเรือ ฯลฯ ซึ่งก็มีการเลือกใช้เหล็กเกรด SM520 ในหลาย ๆ โครงการ เนื่องด้วยเหล็กไม่ได้มีแค่ศักยภาพด้านความแข็งแรง แต่ยังสามารถออกแบบเพื่อแสดงให้ทั่วโลกได้เห็นความสวยงามและเอกลักษณ์อย่างไทยผ่านงานดีไซน์สถาปัตยกรรมจากโครงสร้างเหล็กที่สวยงาม

เหล็ก SYS เป็นวัสดุก่อสร้างที่ไม่ใช่แค่คิดและผลิตมาเพื่องานในปัจจุบัน แต่ยังเป็นวัสดุก่อสร้างที่สามารถปรับตัวและพร้อมซัปพอร์ตการก่อสร้างในอนาคต ซึ่งเหมาะกับการก่อสร้างตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่ทุก 5 ปีเสมอ ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุที่อยู่ในเทรนด์ มีการพัฒนากระบวนการผลิตเสมออย่างเหล็ก SYS จะทำให้โครงการหรือการก่อสร้างนั้น ๆ ราบรื่น ยืดหยุ่น ทันสมัย และตอบโจทย์กับทุกการเปลี่ยนแปลงได้