รวมเทคนิคออกแบบโครงสร้างเหล็ก ให้แกร่งและคุณภาพดีกว่าเดิม

รวมเทคนิคออกแบบโครงสร้างเหล็ก ให้แกร่งและคุณภาพดีกว่าเดิม

รวมเทคนิคออกแบบโครงสร้างเหล็ก การออกแบบโครงสร้างเหล็กตามมาตรฐานทั่วไปนั้นถือว่ามีความแข็งแรงและคุณภาพที่ดีอยู่แล้ว แต่เราสามารถยกระดับความแข็งแกร่งและประสิทธิภาพของโครงสร้างเหล็กให้ดียิ่งขึ้นได้ ด้วยการนำเทคนิคหรือเพิ่มดีเทลการก่อสร้างที่ตอบโจทย์การใช้งานเฉพาะเข้ามาผสมผสาน

ไม่ว่าจะเป็นการเลือกหน้าตัดเสาที่สอดคล้องกับการรับแรงของอาคาร เพื่อให้โครงสร้างถ่ายน้ำหนักลงฐานรากได้ดีและให้อาคารแข็งแรงทนทานนานขึ้น การเลือกหน้าตัดเหล็กที่เหมาะกับการใช้งานโดยเฉพาะ H-BEAM กับ I-BEAM ที่มีความคล้ายคลึงกันแต่เหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน

นอกจากนี้ยังมีเทคนิคที่ช่วยเสริมให้งานสถาปัตยกรรมและการใช้งานมีคุณภาพมากขึ้นได้ เช่น ดีเทลการออกแบบให้คานยื่นได้ยาวขึ้น แข็งแรงขึ้นโดยปลายไม่หย่อนหรือตกท้องช้าง ช่วยให้อาคารดูสวยงาม ใช้งานได้ปลอดภัย

โครงสร้างเหล็กเป็นรูปแบบโครงสร้างที่มีความแข็งแรงโดดเด่นอยู่แล้ว อีกทั้งยังดัดแปลงหรือประยุกต์เพิ่มเติมได้อย่างยืดหยุ่น ซึ่งการเพิ่มดีเทลหรือเทคนิคการออกแบบที่เหมาะสมเหล่านี้เข้าไปก็จะช่วยให้โครงสร้างเหล็กแกร่งและมีคุณภาพดีมากกว่าเดิมได้

 

รวมเทคนิคออกแบบโครงสร้างเหล็ก ให้แกร่งและคุณภาพดีกว่าเดิม เลือกหน้าตัดเสาให้ตรงกับการรับแรง

เลือกหน้าตัดเสาให้ตรงกับการรับแรง

ส่วนหนึ่งที่เหล็กถูกหยิบมาใช้งานมากที่สุด คือ “เสา” ของอาคาร หน้าตัดเสาเหล็กใหญ่ ๆ ที่นิยมกัน เช่น เสา H-BEAM ที่หน้าตัดมีความสูงเท่ากับความกว้าง (Square) เสา H-BEAM ที่หน้าตัดมีความสูงมากกว่าความกว้าง (Rectangular) และเสารูปแบบ Composite โดยแต่ละหน้าตัดมีความสามารถในการรับแรงต่างกัน 

เสา H-BEAM หน้าตัด Square มีความยาวหน้าตัดเท่ากันทุกด้าน ถูกออกแบบมาเพื่อรับแรงอัดจากชิ้นส่วนโครงสร้างที่อยู่ด้านบนและถ่ายแรงลงสู่ฐานรากด้านล่าง 

เสา H-BEAM หน้าตัด Rectangular ที่มีความยาวด้านสั้นและด้านยาวชัดเจน เป็นเสาที่เหมาะกับโครงสร้างขนาดกลาง – ใหญ่ที่มีลักษณะพิเศษ เช่น มี Span กว้าง ๆ หรือาคารสูงในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว เพราะเสาหน้าตัดนี้จะรับแรงอัดและช่วยรับแรงดัดจากคานได้ส่วนหนึ่ง

สำหรับโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่ที่ต้องการ Floor Area ที่กว้างขวาง เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน รวมไปถึงโครงสร้างที่มีดีไซน์พิเศษ ควรเลือกใช้เสาประกอบหรือ Composite Column ที่มีแกนกลางเป็นเหล็ก H-BEAM ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างได้ดี ขนาดเสาไม่ใหญ่เกินไปด้วย

อ่านเทคนิคเต็ม ๆ ได้ที่: https://bit.ly/4gPLPs3  

 

รวมเทคนิคออกแบบโครงสร้างเหล็ก ให้แกร่งและคุณภาพดีกว่าเดิม เลือกประเภทเหล็กให้เหมาะกับการก่อสร้าง

เลือกประเภทเหล็กให้เหมาะกับการก่อสร้าง

อีกสิ่งที่คนใช้งานเหล็กมักสับสน คือเหล็ก H-BEAM และ I-BEAM ซึ่งมีหน้าตัดที่คล้ายกัน บางครั้งจึงมีการนำไปใช้งานทดแทนกัน ซึ่งนอกจากจะทำให้โครงสร้างรับน้ำหนักมากแล้วยังเป็นการนำไปใช้งานไม่ตรงจุดด้วย การใช้งานที่ไม่ตรงตามคุณสมบัติที่เหมาะสม ไม่เพียงทำให้โครงสร้างรับน้ำหนักได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ ยังอาจส่งผลต่อความแข็งแรงและความปลอดภัยของโครงสร้างในระยะยาวอีกด้วย

วิธีสังเกตความแตกต่างระหว่าง H-BEAM และ I-BEAM คือ H-BEAM จะมีความหนาของปีก (Flanges) และเอวเหล็ก (Web) เท่ากัน เหมาะกับการนำไปใช้งานเป็นโครงสร้างเสา คานหรือหลังคาของอาคารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน โกดัง อาคารสำนักงาน

ส่วน I-BEAM ปีก (Flanges) จะมีความหนากว่าเอวเหล็ก (Web) รวมถึงเส้นหน้าตัดจะมีขอบโค้งมนเล็กน้อย เหล็ก I-BEAM นี้มีน้ำหนั

กมากกว่าเหล็ก H-BEAM มาก โดยมีคุณสมบัติคือการรับแรงกระแทกได้ดี จึงเหมาะกับการเป็นรางเครนในโรงงานหรือโกดังมากกว่า

เหล็กเอชบีม (H-Beam) กับเหล็กไวด์แฟลงก์ (Wide flange) ต่างกันอย่างไร? คลิก!

 

รวมเทคนิคออกแบบโครงสร้างเหล็ก ให้แกร่งและคุณภาพดีกว่าเดิม ดีไซน์คานยื่นยาวด้วยเทคนิคที่เหมาะกับอาคาร

ดีไซน์คานยื่นยาวด้วยเทคนิคที่เหมาะกับอาคาร

การดีไซน์ให้คานยื่นยาวนอกจากจะตอบโจทย์งานดีไซน์แล้วยังเป็นการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยด้วย เช่น การสร้างชั้นลอยในอาคารโถงสูงให้ใช้งานได้เพิ่มขึ้น หรือการยื่นคานเชื่อมอาคาร 2 หลังเข้าด้วยกัน 

โดยการยื่นคานให้ยาวมีหลายเทคนิคด้วยกัน และมีรูปแบบการรับแรงที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการยื่นแบบทั่วไปที่ฝากคานเข้ากับโครงสร้างอาคาร รูปแบบนี้จะยื่นได้จำกัด เหมาะกับระเบียงบ้านหรือกันสาด – ชายคาอาคาร

หากต้องการยื่นยาวมากขึ้นอาจเลือกเป็นการเสริม Tension Rod เพื่อดึงคานกลับขึ้นมาหรือเสริมค้ำยันด้านล่างเพื่อให้คานยื่นได้มากและแข็งแรงรับน้ำหนักได้ดีไม่มีหย่อนปลาย เหมาะกับชั้นลอยหรือระเบียงกันสาดที่ต้องการยื่นยาวมาก ๆ 

แต่ถ้าต้องการยื่นคานให้ยาวขึ้นมาก ๆ หรือเป็น Skywalk เชื่อมอาคาร 2 หลัง มักจะใช้เป็นคานโครงสร้าง Truss ซึ่งจะเหมาะกับการยื่นคานระยะ 10 เมตรขึ้นไป มักพบได้ในอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่

SYS ได้ รวมเทคนิคออกแบบโครงสร้างเหล็ก เพื่อตอบโจทย์การออกแบบและก่อสร้างด้วยโครงสร้างเหล็กช่วยให้เราได้อาคารที่มีความแข็งแรง รับแรงได้ดี ในขนาดหน้าตัดที่เล็กลง และการเลือกหรือเสริมดีเทลการออกแบบเหล่านี้เข้าไปก็จะช่วยให้โครงสร้างเหล็กสามารถรับแรงและตรงตามประโยชน์ใช้สอยที่เราต้องการได้อย่างตรงจุดมากขึ้นได้

อ่านเทคนิคแบบเต็ม ๆ ได้ที่: https://bit.ly/4fP6AU9