มีอะไร Update ใน มอก. เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนกันบ้าง

ในวันที่ 15 มีนาคม 2560  สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. จะเริ่มบังคับใช้มาตรฐานเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน “” มอก.1227 – 2558″ ” แต่ก่อนจะไปทราบถึงการปรับปรุงในมาตรฐานใหม่ฉบับนี้ ลองมาดู Timeline ของมาตราฐานเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ที่ทาง สมอ. ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องกันครับ


พ.ศ. 2517

มีการเริ่มใช้  “มอก.116-2517”  มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ขึ้นเป็นครั้งแรก


พ.ศ. 2529

ได้มีการปรับปรุงมาตรฐานแก้ไขเป็น “มอก. 116 – 2529”  มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ (แก้ไขครั้งที่ 1) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการอ้างอิงในหนังสือเรียนตามมหาวิทยาลัยทั่วไป ในช่วงเวลาหนึ่งซื่งมีการกำหนดคุณสมบัติของชั้นคุณภาพ(Grade) ไว้ 2 ชั้นคุณภาพดังนี้

Grade Yield Point (ksc) Tensile Strength (ksc) Elongation % % (min)
 Fe 24  2,400  4,100  23
 Fe 30  3,000  5,000  23

 


พ.ศ. 2537

ได้มีการประกาศยกเลิก “มอก. 116 – 2529”  แล้วทำการแยกมาตรฐานเหล็กโครงสร้างรูปพรรณออกเป็น 2 มาตรฐาน โดยแบ่งตามกระบวนการผลิตสินค้า ได้แก่

1. “มอก. 1227-2537” มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน

ซื่งมีการกำหนดคุณสมบัติของชั้นคุณภาพ(Grade) ไว้ 4 ชั้นคุณภาพคือ SM400, SM490, SM520  และ SM570 โดยแบ่งตามคุณสมบัติทางกล และส่วนประกอบทางเคมี ดังนี้

ตารางการแบ่งชั้นคุณภาพตามคุณสมบัติทางกล ”มอก. 1227-2537”

Mechanical  Properties
Classifications Yield  Point (min.) Tensile Elongation Impact
N / mm (ksc) Strength %  (min.) t > 12 mm.
Thickness N / mm2 Thickness (mm.) Temp. Energy
t < 16 mm. t > 16 mm.   t < 5  5 < t < 16 t > 16 oC J (min.)
มอก.1227: 2537 SM400 245 235 400-510 23 18 22 0 27
SM490 325 315 490-610 22 17 21 0 27
SM520 365 355 520-640 19 15 19 0 27
SM570 460 390 570-720 19 19 26 -5 47

ตารางการแบ่งชั้นคุณภาพตามส่วนประกอบทางเคมีเมื่อวิเคราะห์จากเบ้า ”มอก. 1227-2537”

Classifications Chemical  Composition
C Si Mn P S
(max.) (max.)   (max.) (max.)
มอก.1227: 2537 SM400 0.20 0.35 0.60-1.40 0.035 0.035
SM490 0.18 0.55 1.60 Max. 0.035 0.035
SM520 0.20 0.55 1.60 Max. 0.035 0.035
SM570 0.18 0.55 1.60 Max. 0.050 0.050

หมายเหตุ: หากวิเคราะห์จากผลิตภัณฑ์ ปริมาณธาตุต่างๆยอมให้มากกว่าที่กำหนดในตารางได้อีกดังนี้

  • คาร์บอน 0.03
  • ซิลิคอน 0.05
  • แมงการนีส 0.05
  • ฟอสฟอรัส 0.01
  • กำมะถัน 0.01

2. “มอก. 1228-2537” มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เหล็กโครงสร้างรูปพรรณเหล็กขึ้นรูปเย็น

ซื่งมีการกำหนดคุณสมบัติของชั้นคุณภาพ(Grade) ไว้ 1 ชั้นคุณภาพคือ SSC400


พ.ศ. 2539

ได้มีการปรับปรุงมาตรฐานแก้ไขเป็น “มอก. 1227 – 2539”  มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (แก้ไขครั้งที่ 1)  ซื่งมีการกำหนดคุณสมบัติของชั้นคุณภาพ(Grade) เพิ่มเติมอีก 3 ชั้นคุณภาพ คือ SS400, SS490, SS540 รวมกับมีการปรับปรุงมาตรฐานของคุณสมบัติของชั้นคุณภาพเดิมรวมเป็น  7 ชั้นคุณภาพโดยแบ่งตามคุณสมบัติทางกล และส่วนประกอบทางเคมี ดังนี้

ตารางการแบ่งชั้นคุณภาพตามคุณสมบัติทางกล ”มอก. 1227-2539”

Mechanical  Properties
Classifications Yield  Point (min.) Tensile
Elongation

 

Impact
N / mm (ksc) Strength %  (min.) t > 12 mm.
Thickness N / mm2 Thickness (mm.) Temp. Energy
t < 16 mm. t > 16 mm.   t < 5  5 < t < 16 t > 16 oC J (min.)
มอก.1227: 2539 SS400 245 235 400-510 21 17 21
SS490 285 275 490-610 19 15 19
SS540 400 390 540 min. 16 13 17
SM400 245 235 400-510 23 18 22 0 27
SM490 325 315 490-610 22 17 21 0 27
SM520 365 355 520-640 19 15 19 0 27
SM570 460 450 570-720 19 19 26 -5 47

ตารางการแบ่งชั้นคุณภาพตามส่วนประกอบทางเคมีเมื่อวิเคราะห์จากเบ้า ”มอก. 1227-2539”

Classifications Chemical  Composition
C Si Mn P S
(max.) (max.)   (max.) (max.)
มอก.1227: 2539 SS400 0.050 0.050
SS490 0.050 0.050
SS540 0.30 1.60 Max. 0.040 0.040
SM400 0.20 0.35 0.60-1.40 0.035 0.035
SM490 0.18 0.55 1.60 Max. 0.035 0.035
SM520 0.20 0.55 1.60 Max. 0.035 0.035
SM570 0.18 0.55 1.60 Max. 0.035 0.035

หมายเหตุ

  1. หากวิเคราะห์จากผลิตภัณฑ์ ปริมาณธาตุต่างๆ ยอมให้มากกว่าที่กำหนดในตารางได้อีกดังนี้
    • คาร์บอน 0.03
    • ซิลิคอน 0.05
    • แมงการนีส 0.05
    • ฟอสฟอรัส 0.01
    • กำมะถัน 0.01
  2. – หมายถึง ไม่กำหนด

พ.ศ. 2558

ได้มีการปรับปรุงมาตรฐานแก้ไขเป็น “มอก. 1227 – 2558”  มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (แก้ไขครั้งที่ 2)  ซื่งมีการปรับปรุงมาตรฐานทางด้านส่วนประกอบทางเคมี เนื่องจากได้มีการพบเจอการปนเปื้อนของธาตุเคมีหลายธาตุที่จะทำให้คุณสมบัติของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนด้อยคุณภาพลง จึงมีการปรับปรุงมาตรฐานให้ได้เหล็กที่มีความสะอาด บริสุทธ์เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยตามมาตรฐานเมื่อวิเคราะห์จากเบ้า เป็นดังนี้

ตารางการแบ่งชั้นคุณภาพตามส่วนประกอบทางเคมีเมื่อวิเคราะห์จากเบ้า ”มอก. 1227-2558”

Classifications Chemical  Composition
C Si Mn P S
(max.) (max.)   (max.) (max.)
มอก.1227: 2539 SS400 0.050 0.050
SS490 0.050 0.050
SS540 0.30 1.60 Max. 0.040 0.040
SM400 0.20 0.35 0.60-1.40 0.035 0.035
SM490 0.18 0.55 1.60 Max. 0.035 0.035
SM520 0.20 0.55 1.60 Max. 0.035 0.035
SM570 0.18 0.55 1.60 Max. 0.035 0.035

หมายเหตุ

  1. ส่วนประกอบทางเคมีนอกเหนือจากที่กำหนดในตาราง ต้องมีปริมาณโดยมวลเป็นไปตามที่กำหนดต่อไปนี้
    • ทองแดง น้อยกว่า 0.40 %
    • นิกเกิล น้อยกว่า 0.30 %
    • โครเมียม น้อยกว่า 0.30 %
    • โมลิบดีนัม น้อยกว่า 0.08 %
    • ไทเทนียม น้อยกว่า 0.05 %
    • โบรอน น้อยกว่า 0.0008 %
  2. – หมายถึง ไม่กำหนด
  3. หากวิเคราะห์จากผลิตภัณฑ์ ปริมาณธาตุต่างๆ ยอมให้มากกว่าที่กำหนดเป็นปริมาณโดยมวลได้อีกดังนี้
    • คาร์บอน 0.03 %
    • ซิลิคอน 0.05 %
    • แมงการนีส 0.05 %
    • ฟอสฟอรัส 0.01 %
    • กำมะถัน 0.01 %
    • ทองแดง 0 %
    • นิกเกิล 0 %
    • โครเมียม 0 %
    • โมลิบดีนัม 0 %
    • ไทเทนียม 0%
    • โบรอน 0%
ทั้งนี้ สมอ. ได้ประกาศให้มาตราฐานฉบับล่าสุด “มอก. 1227 – 2558”  มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน จะเริ่มมีผลการบังคับใช้ในวันที่ 15 มีนาคม 2560 สำหรับท่านที่เป็นวิศวกร, สถาปนิก , ผู้รับเหมาก่อสร้าง และผู้ใช้งานทั่วไป จะได้เตรียมตัวแก้ไขรายการวัสดุประกอบแบบก่อสร้าง เพื่ออ้างอิงกับมาตราฐานฉบับล่าสุด เพื่อที่ผู้ใช้งานจะได้ใช้สินค้าที่มีมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้นไปครับ