ตลาดมาร์เก็ตแลนด์ ตลาดแบบไทยที่ลงตัวด้วยโครงสร้างเหล็ก

ทุกวันนี้ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าห้างสรรพสินค้านั้น ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั้งในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองใหญ่ของต่างจังหวัด แต่ในพฤติกรรมแท้จริงของผู้บริโภคแล้ว สถานที่ที่เข้ากับวิถีชีวิตคนไทย คือ “ตลาด” ที่มีความหลากหลายเรื่องการจับจ่ายมากกว่า ทั้งของสด ของแห้ง และร้านค้าราคาย่อมเยา วันนี้เรามีโอกาสมาพูดคุยกับพี่แว่น – สิวิชัย อุดมวรนันท์ จาก Architecture of my own ผู้ออกแบบ “ตลาดมาร์เก็ตแลนด์” ที่กำลังก่อสร้างย่านลาดกระบัง ว่ามีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง


Form Follow Function

ตลาดมาร์เก็ตแลนด์ เป็นส่วนก่อสร้างเฟส 2 ต่อจากส่วนแรกที่อยู่ข้างเคียงกัน โดยแนวคิดหลักในการออกแบบ คือ การสร้างพื้นที่ที่มีรูปทรงเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ใช้งานสะดวกสบาย มีการใช้แสงและลมธรรมชาติให้เข้ามาภายในอาคาร แต่ยังคงป้องกันแดดและฝนได้เป็นอย่างดี สถาปนิกเลือกที่จะหันส่วนที่เป็นกระจก และช่องเปิดในด้านทิศเหนือ เพราะเป็นด้านที่แสงแดดนั้นไม่แรง และเหมาะสมกับการเปิดรับแสงธรรมชาติมากที่สุด โดยบานกระจกดังกล่าวใช้เป็นกระจกบานเกล็ด เพราะเป็นรูปแบบกระจกที่สามารถกันฝนได้ดี แต่ยังสามารถระบายอากาศได้อยู่

ด้วยความที่โครงการนี้เป็นเฟส 2 ที่มีตัวอาคารเดิมของเฟส 1 อยู่แล้ว ซึ่งเป็นรูปแบบอาคารที่มีการออกแบบหลังคาเป็นจุดเด่น ฉะนั้นโครงการนี้จึงต้องการให้เกิดความเรียบง่าย โดยสถาปนิกได้ถอดเอาองศาความลาดเอียงของหลังคาจากเฟส 1 มาใช้กับตัวอาคารใหม่นี้ เพื่อให้ภาพรวมนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

“ผมไม่ค่อยคิดงานโดยเริ่มจากรูปทรงอาคารให้ดูถูกใจ แต่ผมเชื่อในการใช้งานที่ดีเป็นหลัก หรืออาจจะเรียกได้ว่า Form Follow Function กล่าวคือทุกรูปแบบที่เกิดขึ้น มีเหตุและผลในการออกแบบ เช่น การซ้อนเหลื่อมกันของก้อนอาคารหลัก เพื่อให้เกิดช่องแสงสูงจากพื้นถึงฝ้า และยังเปิดมุมมองให้ผู้ที่ใช้งานภายในไม่รู้สึกอึดอัด สามารถมองเห็นท้องฟ้าและบรรยากาศภายนอกได้” คุณสิวิชัย พูดถึงการคิดรูปทรงอาคาร กับโจทย์ของอาคารนี้ ที่ต้องใช้งบประมาณการก่อสร้างได้อย่างคุ้มค่า รูปทรงจึงต้องมีเหตุและผลพอสมควร


ความลงตัวแห่งการออกแบบและบริการ

โครงสร้างหลักของอาคารนี้เป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อน โดยสถาปนิกและเจ้าของโครงการ ตัดสินใจเลือกใช้เป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อน โดยในเบื้องต้นสถาปนิกและวิศวกรออกแบบเป็นโครงสร้างเหล็กฉาก และสานต่อกันเป็นโครงสร้างเหล็กถัก (Truss) แต่ต่อมาเมื่อพิจารณาเรื่องการทำงาน และด้วยปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นตัวโครงสร้างที่มีช่วงพาดหลังคาที่กว้าง และสูงขึ้นจากพื้นหลายเมตร การยึดติดของโครงเหล็ก ที่หากใช้เหล็กฉาก จะต้องเป็นการเชื่อมยึดแทนการใช้น๊อตและโบลท์ ซึ่งเป็นการยึดที่ควบคุมคุณภาพได้ยาก อีกทั้งหากอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้นไปก็จะยากต่อการทำงานด้วย

สุดท้ายแล้วเจ้าของโครงการจึงตัดสินใจเลือกใช้เหล็กรูปพรรณรีดร้อน มาทำเป็นโครงสร้างเหล็กถักแทน ซึ่งในการทำงานนั้นจะเป็นการตัด ทำสีกันสนิม ทำสีทับหน้าและเชื่อมประกอบบางส่วนมาจากโรงงานด้วยน๊อตและโบลท์ ซึ่งแม้จะมีราคาที่สูงกว่าการใช้เหล็กกล่องและเหล็กฉาก แต่เมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้กลับมา ไม่ว่าจะเป็นความงาม และความแข็งแรง รวดเร็ว ก็ถือว่าคุ้มค่า

พอพูดถึงการติดตั้งแบบขันน๊อตและโบลท์ หลายคนอาจติดว่า “การติดตั้งแบบขันน๊อต จะไม่แข็งแรง หรือ แข็งแรงไม่เท่าการเชื่อมติด” ซึ่งในความเป็นจริงแล้วกลับกันโดยสิ้นเชิง เพราะการขันน๊อตเป็นการติดตั้งที่สามารถควบคุมคุณภาพของงานได้ เมื่อเทียบกับการเชื่อมนั้น ที่ต้องมีมาตรฐานของการเชื่อม เช่นความหนาของรอยเชื่อมต้องได้ตามมาตรฐาน ต้องใช้ความชำนาญในการทำงาน อีกทั้งการเชื่อมเป็นการใช้มือมนุษย์ ที่อาจจะไม่เที่ยงตรง เกิดการผิดพลาดได้ง่าย เชื่อมไม่ดี เกิดสนิม ส่งผลเสียต่อโครงสร้างตามมา

Tip : งานติดตั้งแบบขันน๊อตและโบลท์ เป็นการติดตั้งที่สามารถตรวจเช็คความเรียบร้อยของการเตรียมชิ้นงานได้ตั้งแต่ขั้นตอนที่โรงงาน และเมื่อประกอบแล้วเสร็จ การตรวจสอบก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นไปตรวจสอบรอยเชื่อมที่ด้านบน สามารถตรวจสอบความเรียบร้อยได้ที่ด้านล่าง แต่การเชื่อมนั้นยากต่อการตรวจเช็ค เพราะการเชื่อมต้องเป็นการเชื่อมที่หน้างาน ยกโครงสร้าง ตั้งนั่งร้านขึ้นไปเชื่อมตรงนั้น จึงยากที่จะเช็คคุณภาพของรอยต่อ

สถาปนิกและวิศวกรร่วมกันออกแบบอาคารนี้เป็นโครงสร้างเหล็กรูปพรรณรีดร้อนเป็นหลัก โดยแนวคิดที่ว่าเหล็กรูปพรรณรีดร้อนนั้น มีความสวยงามลงตัว และก่อสร้างเร็ว แข็งแรง เมื่อทำแบบมาถึงแบบร่างขั้นสุดท้าย สถาปนิกเลือกใช้ Steel Solution by SYS  ที่ช่วยดูแลการก่อสร้างตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นทำแบบ Preliminary Design ให้คำปรึกษาการเลือกใช้ชนิดเหล็กกับโครงสร้างส่วนต่างๆ  ตัด เจาะ เชื่อมตามแบบที่โรงงานก่อนยกมาติดตั้ง คำนวณน้ำหนักโครงสร้าง เคลียร์แบบ shop drawing , detail รอยต่อ แนะนำโดยทีมงานที่ได้คุณภาพเพื่อให้ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด เป็นบริการแบบ one stop service ตัวจริง

Tip : การยึดโครงสร้างเหล็กด้วยการเชื่อม เป็นวิธีที่ต้องการช่างหรือคนงานที่มีความชำนาญ อีกทั้งยังต้องมีการคุมงานในขั้นตอนของการเชื่อมนั้นอย่างเคร่งครัด เพราะหากไม่มีการคุมงานที่ดี หรือช่างไม่มีความชำนาญ งานที่ออกมาอาจไม่ดี ไม่แข็งแรง ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อความแข็งแรงในระยะยาว

เมื่อความคิดสร้างสรรค์ ได้เดินทางมาบรรจบกับความรู้และเทคนิคในการก่อสร้าง ก็จะสามารถก่อเกิดอาคารที่มีรูปแบบสวยงามน่าสนใจได้ไม่ยาก บวกกับบริการคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้าง ก็จะยิ่งทำให้อาคารนั้นๆ เป็นที่จดจำและให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ที่เข้ามาใช้งานทุก ๆ คน

มั่นใจได้ในคุณภาพเหล็ก และนี่ยังเป็นผลงานจาก Steel Solution by SYS บริการที่ครบ จบทุกเรื่องเหล็กรูปพรรณรีดร้อน

ขอขอบคุณ 

เจ้าของ : คุณกิติศักดิ์ สอนดี

สถาปนิก : Architecture of my own โดยคุณสิวิชัย อุดมวรนันท์

วิศวกรโครงสร้าง : คุณพิมล นนทลี

ภาพ : Chaovarith Poonphol photographer