เลือกประเภทเหล็ก Sheet piles อย่างไรให้เหมาะสมกับรูปแบบการก่อสร้าง

ระบบโครงสร้างป้องกันดินสำหรับงานฐานรากและงานโครงสร้างใต้ดิน โดยใช้โครงสร้างกันดินแบบ Steel Sheet Piles สามารถช่วยค้ำยันดินที่มีแรงดันดินสูง ป้องกันแรงดันน้ำและแรงดันอื่น ๆ ที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนตัวต่อสิ่งก่อสร้างได้เป็นอย่างดี ซึ่งในการเลือกใช้งานเหล็ก Sheet piles ประเภทต่าง ๆ ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับรูปแบบการก่อสร้างที่กระทำในความลึกที่แตกต่างกัน ซึ่งมี 2 รูปแบบ ได้แก่ งานโครงสร้างกันดินถาวรและงานโครงสร้างกันดินชั่วคราว


Type : Steel Sheet Piles ในงานโครงสร้างกันดินถาวร (Permanent Work)

งานโครงสร้างกันดินถาวรส่วนใหญ่ใช้ในงานเขื่อนป้องกันตลิ่งเพื่อป้องกันน้ำท่วมเข้าในพื้นที่ หรือ งานประตูระบายน้ำ เพื่อเพิ่มระยะทางเดินของน้ำ ซึ่งจะช่วยลดแรงดันน้ำลอดใต้ดิน (seepage) ที่จะส่งผลต่อความเสียหายกับตัวเขื่อน และยังนิยมใช้ในงานท่าเรือเพื่อป้องกันตลอดแนวชายฝั่ง


การก่อสร้างและการเลือกใช้ชีทไพล์ที่เหมาะสม

การก่อสร้างจะต้องตอกแผ่นชีทไพล์ลงไปในดินให้มีระดับความลึกที่เพียงพอ โดยทั่วไปสามารถเลือกใช้เป็น “ชีทไพล์ Type 2(SP-II)” แต่หากต้องการระดับความลึกที่มากขึ้นสามารถใช้เป็น “ชีทไพล์ Type 3A (SP-IIIA)” หรือ “ชีทไพล์ Type 4 (SP-IV)” ซึ่งต้องผ่านการคำนวณจากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญโดยละเอียด

ในงานโครงสร้างกันดินถาวรนิยมทำสีเหล็ก (Coating) อีกด้วย ซึ่งทาง Steel solution มีบริการทำสีเหล็กชีทไพล์ 2 ระบบ ทั้งการทำสีชนิดพิเศษ (Coated Sheet Pile) และการชุบกัลวาไนซ์ (Galvanized Sheet Pile) ซึ่งการชุบกัลวาไนซ์จะช่วยยืดระยะเวลาในการป้องกันการกัดกร่อนสูงมากขึ้น


Type : Steel Sheet Piles ในงานโครงสร้างกันดินชั่วคราว (Temporary Work)

งานโครงสร้างกันดินชั่วคราว คือ โครงสร้างที่ทำมาเพื่อป้องกันการพังทลายของดินเมื่อต้องขุดดินลงไปเพื่อก่อสร้างฐานรากของอาคาร หรือฐานรากของตอม่อรถไฟฟ้า ตอม่อสะพาน ที่ต้องก่อสร้างฐานรากในพื้นที่จำกัดและต้องรับแรงสั่นสะเทือนจากน้ำหนักของยานพาหนะที่สร้างผลกระทบต่อการเคลื่อนตัวของดินรอบๆ หลุมขุดที่จัดทำไว้


การก่อสร้างและการเลือกใช้ประเภทชีทไพล์ที่เหมาะสม

การก่อสร้างจะต้องตอกฝังแผ่นเหล็กชีทไพล์ลงไปในดินระยะที่ปลายล่างของแผ่นผนังยึดแน่น และรับแรงดันดินด้านข้างได้โดยไม่ล้มตัวลง เพื่อทำหน้าที่เป็นกำแพงกันดิน แล้วจึงขุดดินออกเพื่อเข้าไปทำฐานรากหรือทำห้องใต้ดิน ควรเลือกใช้ “ชีทไพล์ Type 3 (SP-III)” ในงานที่กระทำในความลึกไม่มาก หรือหากชั้นใต้ดินนั้นมีความลึกมาก ๆ ก็อาจจะต้องเพิ่มกำลังเป็น “ชีทไพล์ Type 4 (SP-IV)” ซึ่งต้องผ่านการคำนวณจากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญโดยละเอียด โดยหลังจากทำการก่อสร้างโครงสร้างใต้ดินแล้วเสร็จ เราจะต้องทำการรื้อถอนโครงสร้างกำแพงกันดินชั่วคราวออก

โดยแผ่นชีทไพล์ที่นำมาใช้ในงานโครงสร้างกันดินชั่วคราวจะต้องใช้ร่วมกับโครงสร้างอื่นเพื่อค้ำยันแผ่นชีทไพล์ให้ติดตั้งอยู่ได้ ซึ่งทาง steel solution ก็มีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ใช้ร่วมกับชีทไพล์ ได้แก่ Bracing or Strut (Fabricated H Beam) โครงสร้างเหล็กค้ำยันชั่วคราว, Wale ส่วนของโครงสร้างต้านแรง, Kingpost เสาเหล็กหลักรับแรงจากเหล็กค้ำยันทำหน้าที่เหมือนเสาในอาคาร และแผ่นพื้นเหล็ก (Steel Deck) สำหรับปูทางให้รถวิ่งรอบได้

ซึ่งในการก่อสร้างโครงสร้างกันดินแบบ Steel Sheet Piles จะต้องได้รับการออกแบบจากผู้มีประสบการณ์โดยตรง ควบคุมการก่อสร้างทุกขั้นตอนด้วยความชำนาญ และมีความระมัดระวังเป็นอย่างสูง เพื่อให้งานทุกขั้นตอนได้คุณภาพและมีความปลอดภัยสูงสุด