รู้ยัง! ใช้ SM520 ไม่ผิด พรบ.ควบคุมอาคาร

วิศวกรหลายๆคนอาจจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การเลือกใช้งาน เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ว่าห้ามใช้ ค่ากำลังคราก ( Yieid Strength ) ไม่เกิน 240 เมกาปาสกาล (2,400 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร) ในการออกแบบอาคารโครงสร้างเหล็ก ซึ่งขัดแย้งกับ มาตรฐาน มอก 1227 – 2558 และ มอก เหล็กรูปพรรณ ฉบับอื่นๆ ว่า ผู้ผลิตสามารถผลิตเหล็กได้หลากหลาย ชั้นคุณภาพ อาทิเช่น

  • SS400 มาตรฐานระบุ กำลังครากไม่น้อยกว่า 245 เมกาปาสกาล (ประมาณ 2,400 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร)
  • SM520 มาตรฐานระบุ กำลังครากไม่น้อยกว่า 365 เมกาปาสกาล (ประมาณ 3,600 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร)
  • SS540 มาตรฐานระบุ กำลังครากไม่น้อยกว่า 400 เมกาปาสกาล (ประมาณ 4,000 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร)

แท้จริงแล้ว ข้อจำกัดในการ คำนวณออกแบบรับแรงของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ว่า ห้ามใช้ ค่ากำลังคราก (Yield Strength) ไม่เกิน 240 เมกาปาสกาล (2,400 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร)  อ้างอิงตาม “กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 13” นั้นหมายถึงแค่ “ในกรณีที่ไม่มีผลการทดสอบกำลัง” หมายความว่า หากเหล็กโครงสร้างรูปพรรณนั้นๆ มีเอกสารรับรองการผลทดสอบจากผู้ผลิต (Mill Inspection Certificate) ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตตาม มาตรฐาน มอก. แล้ว ก็สามารถออกแบบใช้งานได้ตามค่ากำลังคราก (Yield Strength) ของเหล็กตามชั้นคุณภาพนั้นตามที่ระบุไว้ตาม เอกสารรับรองการผลทดสอบ

กล่าวโดยสรุป เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน กำลังสูง SM520 ที่มีค่ากำลังคราก (Yield Strength) สูงกว่า 240 เมกาปาสกาล (2,400 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร) สามารถคำนวนออกแบบ ใช้งานได้ปกติ โดยไม่ขัดกับพรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 นั่นเอง

Source: กฏกระทรวง ฉบับที่ 6 พ.ศ.2527 (ออกตามฯ พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522) ข้อที่ 13

กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 พ.ศ.2527 (ออกตามฯ พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522) ข้อที่ 13