PTT Station ปั๊มน้ำมันรูปแบบใหม่ที่ปรับตัวให้เข้ากับการใช้งาน และธรรมชาติด้วยโครงสร้างเหล็ก

เพราะพื้นที่บนถนนพุทธมณฑลสาย 3 ที่แวดล้อมไปด้วยชุมชน หมู่บ้านขนาดใหญ่ สถานศึกษารวมไปถึงโรงพยาบาล ยังขาดก็แต่สถานีบริการน้ำมันที่รองรับการใช้งานอย่างเพียงพอ ทาง PTTOR จึงเล็งเห็นถึงช่องทางที่จะขยับขยายและก่อสร้าง สถานีบริการน้ำมันแห่งใหม่ในพื้นที่นี้ขึ้นมา ซึ่งถูกออกแบบด้วยแนวคิดทางสถาปัตยกรรมที่ให้ความสำคัญกับเรื่องรูปแบบความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ส่งเสริมความสะดวกสบายการเข้าถึง และปลอดภัยในการใช้งานพื้นที่ส่วนต่างๆ อีกทั้งยกระดับมาตรฐานกระบวนการก่อสร้างให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมชุมชนในบริเวณใกล้เคียงน้อยที่สุด การเลือกใช้โครงสร้างที่เป็นมิตรและส่งผลกระทบต่อรอบข้างน้อยอย่างโครงสร้างเหล็ก H-BEAM จึงถูกหยิบยกมาใช้งาน ทำให้สถานีบริการน้ำมันแห่งนี้ไม่ใช่เพียงแค่จุดแวะพักหรือเติมน้ำมันเท่านั้น แต่เพื่อให้กลายเป็นสถานีบริการน้ำมัน มีรูปแบบใหม่ทันสมัย ใช้งานง่าย เข้าใกล้ธรรมชาติและให้ความสำคัญต่อทั้งผู้คนและสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นตั้งแต่การออกแบบ การเลือกวัสดุและกระบวนการก่อสร้าง ซึ่งโครงสร้างเหล็ก H-BEAM ก็สอดคล้องกับแนวคิดและตอบโจทย์ดังกล่าว


สถานีบริการน้ำมันรูปแบบใหม่ ที่เป็นมิตรมากขึ้นด้วยการออกแบบและการเลือกใช้เหล็ก H-Beam
สถานีบริการน้ำมันรูปทรงกลม ขนาด 4 หัวจ่าย บนพื้นที่ประมาณ 5 ไร่หรือ 8,000 ตารางเมตรแห่งนี้ ตั้งอยู่บนถนนพุทธมณฑลสาย 3 ซึ่งเป็น ถนนสายรองที่เชื่อมต่อระหว่างถนนเส้นหลักสองเส้นคือ ถนนเพชรเกษม และ ถนนบรมราชชนนี จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ตั้งโครงการ (PTTOR) พบว่าพื้นที่บริเวณนี้ถูกรอบล้อมไปด้วยหมู่บ้าน สถานศึกษา และ ชุมชนต่าง ๆ แต่ยังขาดแคลนสถานีบริการน้ำมัน ที่เพียงพอต่อความต้องการ PTTOR จึงตั้งใจที่จะสร้างสรรค์พื้นที่บริเวณนี้ให้เป็น สถานีบริการน้ำมันรูปแบบใหม่ทั้งในด้านการออกแบบ และในด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง เพื่อส่งเสริมให้สถานที่แห่งนี้เป็นจุดศูนย์รวมสิ่งอำนวยความสะดวก และตอบโจทย์การใช้ชีวิต (Living Community & Lifestyle ) ให้กับชุมชนบริเวณรอบ และเป็นโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly Building) อีกด้วย

คุณกิตตินัทธ์ ธรรมรักษ์และคุณจุติพร แต้รัตนชัย Senior Consultant จาก SCG Building & Living Care Consulting ในฐานะผู้ออกแบบโครงการ ยึดคอนเซปต์หลัก Green station green solution ที่ให้ความสำคัญกับระบบการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน รวมถึงการออกแบบอาคารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อให้สถานีบริการแห่งนี้กลายเป็นต้นแบบของการก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันโครงการอื่น ๆ ในอนาคต

ซึ่งสถาปนิกได้เล่าว่า ด้วยตัวคอนเซปต์และแนวทางการออกแบบที่ PTTOR ต้องการ มีความชัดเจนมาตั้งแต่แรก ทำให้การออกแบบวางผังอาคารและการเลือกใช้วัสดุนั้น มีความสัมพันธ์และส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยได้ออกแบบให้รูปแบบพื้นที่อาคารหลักภายในโครงการให้เป็นวงกลมซึ่งสอดรับกับฟังก์ชันการใช้งานของรถยนต์และแสดงออกถึงความทันสมัย จึงเลือกใช้วัสดุเหล็ก H-BEAM ที่ตอบโจทย์ Green Construction มาเป็นโครงสร้างหลักของอาคาร เพราะสามารถออกแบบ และผลิตให้ดัดโค้งได้ในองศาที่ถูกต้องแม่นยำ เมื่อถึงขั้นตอนติดตั้งจึงสามารถลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการติดตั้งหน้างาน และ ทำให้การติดตั้งวัสดุอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมต่อกัน ถูกประกอบ ติดตั้ง เข้ากับโครงสร้างเหล็ก ได้อย่างแม่นยำ มีความประณีต และ เรียบร้อย

เหล็กโครงสร้าง จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ Green Construction อย่างเป็นรูปธรรม
ด้วยความต้องการของ PTTOR ที่ต้องการให้ทั้งการออกแบบและก่อสร้างเป็นไปตาม คอนเซปต์ Green station เพื่อให้สถานีบริการแห่งนี้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดผลกระทบต่อชุมชน ซึ่งเป็นแนวคิดที่คอยควบคุมให้การทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ มีความชัดเจน ตรงไปตรงมา โดยเฉพาะส่วนของโครงสร้างอาคารที่ได้เลือกใช้เหล็ก H-Beam จาก SYS มาเป็นโครงสร้างหลัก เพราะเหล็กเป็นวัสดุที่ตอบโจทย์การก่อสร้างแบบ Green solution ได้มากที่สุด

สถาปนิกเล่าว่า แม้การออกแบบในตอนแรกจะดูมีความท้าทาย ในการจัดการกับรูปร่างวงกลมของอาคาร แต่เพราะได้เลือกใช้เหล็ก H-Beam เป็นโครงสร้างหลักของอาคาร ทำให้จุดเริ่มต้นการก่อสร้างเป็นไปได้อย่างแม่นยำมากขึ้น งานส่วนอื่น ๆ ที่ตามมาจึงจัดการได้ง่ายและไม่มีข้อผิดพลาด อีกทั้งการเป็นโครงสร้างที่ถูกเตรียมพร้อมติดตั้งมาจากโรงงานที่ได้คุณภาพ ทำให้เมื่อถึงหน้างานก็สามารถดำเนินการติดตั้งได้ทันที ทำให้สามารถช่วยลดผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียงและจัดการขยะหลังจบงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยให้ตัวอาคารมีความโปร่ง เพรียวบางและงานก่อสร้างมีความเรียบร้อยมากขึ้น ขั้นตอนการออกแบบและก่อสร้างจึงรวดเร็ว แม่นยำและง่ายกว่าที่คิดเอาไว้

ซึ่ง Green Construction เป็นแนวคิดที่ไม่ได้อาศัยเพียงการเลือกวัสดุ หรือหยุดอยู่แค่การออกแบบแต่หมายรวมไปถึงขั้นตอนทั้งหมดในกระบวนการตั้งแต่ความต้องการของลูกค้า การออกแบบของสถาปนิก การเลือกวัสดุ การก่อสร้างตลอดจนการจัดการพื้นที่หน้างาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพและความรับผิดชอบต่อบริบทรอบข้างของเจ้าของโครงการ เช่นเดียวกับที่สถานีบริการน้ำมันบนถนนพุทธมณฑลสาย 3 แห่งนี้ ได้เลือกใช้วัสดุเหล็ก H-Beam เป็นโครงสร้างอาคาร ทำให้โครงการมีความแข็งแรง ปลอดภัย การก่อสร้างแม่นยำ รูปทรงทันสมัยและเปลี่ยนภาพลักษณ์ปั๊มน้ำมันใหม่ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ช่วยริเริ่มให้ Green Construction เป็นรูปธรรมและเป็นตัวแทน สถานีบริการน้ำมันที่สร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับผู้ใช้งานได้มากกว่าที่เคย

ธรรมชาติและการใช้งาน คือหัวใจหลักของปั๊มน้ำมันแห่งนี้
สถาปนิกได้หยิบยกเอาธรรมชาติมาใช้การออกแบบโครงการนี้ โดยวางต้นไม้ไว้กลางอาคารวงกลมทั้ง 3 จุดคือ ส่วนจ่ายน้ำมัน ห้องน้ำและคาเฟ่ อเมซอน ซึ่งต้นไม้ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนสื่อถึงธรรมชาติเปรียบเปรย ถึงสถานที่ที่มีการสัญจรหมุนล้อมเป็นวงเวียน เช่น อนุสาวรีย์ต่าง ๆ ที่สื่อถึงการยกย่องเชิดชูสิ่งที่อยู่ใจกลางวงเวียนนั้น ๆ ถึงความสำคัญ คุณงานความดีที่สิ่ง ๆ นั้นได้สร้างคุณงามความดีต่อสังคมหรือประเทศชาติ อีกทั้งยังเป็นการค่อย ๆ ให้ธรรมชาติเข้ามา อยู่ในมุมมองสายตาและการรับรู้ของผู้ใช้งาน ตั้งแต่การมองเห็นด้วยตาที่หัวจ่ายน้ำมัน การมองเห็นและเข้าใกล้ได้มากขึ้นในส่วนของห้องน้ำ และสุดท้ายเป็นการเข้าถึงและใช้งานร่วมกันในส่วนของ café amazon ที่ภายนอกออกแบบรองรับ Universal Design และภายในมีการตกแต่งด้วยบรรยากาศที่ร่มรื่น

อีกทั้งการออกแบบให้อาคารมีรูปร่างกลมยังช่วยให้รถยนต์ที่เข้ามาใช้บริการสามารถมองเห็นหัวจ่ายน้ำมันได้อย่างชัดเจน ที่สำคัญคือการสัญจรภายในพื้นที่นั้นมีความคล่องตัวอย่างเป็นธรรมชาติ และการเข้าออกหรือกลับรถยังทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่ายังอยู่ในพื้นที่ปั๊มน้ำมันและเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่อยู่ ทำให้ผู้ใช้งานได้รับบรรยากาศและประสบการณ์ที่ต่อเนื่องและลื่นไหลตั้งแต่เข้ามาใช้งานและเดินทางออกจากปั๊ม ซึ่งการเลือกใช้โครงสร้างเหล็ก H-BEAM ที่สามารถดัดโค้ง ตามรูปทรงที่ต้องการได้ง่ายและมีความแข็งแรงก็ช่วยให้การก่อสร้างในส่วนหลักส่วนนี้มีความถูกต้องและไม่ผิดพลาด

เปลี่ยนภาพจำของปั๊มน้ำมัน ให้กลายเป็นพื้นที่ที่เปิดมุมมองและสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ
โดยทั่วไปชุมชนบริเวณโดยรอบมักมีความกังวลใจเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย และผลกระทบที่อาจเกิดจากการสร้างสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งโจทย์สำคัญที่ทางสถาปนิกจะต้องปรับเปลี่ยนให้โครงการนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อปั๊มน้ำมันของผู้คนให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นให้ได้



โดยทางทีมสถาปนิกได้มีการระดมความคิดที่สอดคล้องไปกับโจทย์หลักของโครงการอย่าง Green station green solution จนได้ออกมาเป็นสถานีบริการน้ำมันที่มีส่วนหัวจ่ายน้ำมัน ห้องน้ำและส่วนของ café amazon ที่มีรูปร่าง รูปทรงเป็นวงกลมอย่างสอดคล้องกัน ซึ่งการออกแบบพื้นที่ใช้งานให้เป็นวงกลมนี้ได้อ้างอิงถึงคอนเซปต์ 2 ส่วนคือ ฟังก์ชันการใช้งานของรถยนต์ที่เข้ามาใช้บริการและเรื่องของประสบการณ์ทางสถาปัตยกรรมที่ทันสมัย แตกต่างจากที่เคยสัมผัส ด้วยการออกแบบ วัสดุและกระบวนการก่อสร้างตั้งแต่แรกเริ่มจนเสร็จสิ้น ช่วยเปลี่ยนภาพลักษณ์ของสถานีบริการน้ำมัน ให้กลายเป็นสถานที่ที่เปิดรับผู้คนและมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเป็นมิตรได้มากขึ้น